วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

นานา วิธีเจริญ เข้าข้อไหน บ้าง

แสดง ตามที่ เกจิอาจารย์ ยุคนี้ และ ที่นิยมกันทั่วไป

ตัดสินจากอภิธรรม


สัมมาอรหัต      เป็น สมาธิ    พุทธานุสติ      แต่มีประโยชน์ ใกล้มรณสันวิถี พานำเกิดไปสวรรค์

พุทธโธ   เหมือน  สัมมาอรหัต 

เป็นสมาธิ ทั้ง 2 แบบ  แต่สมาธิ ข่มนิวรณ์ 5 ปัญญาย่อมพิจารณา  1.รูป-นาม สติเห็นชัด

2. ปัจจปริคห ปัจจัย  การเกิด  ท่าทางยืน (อิริยาบถ)  ท่าทางเคลื่อนไหว(สัมปชัญญะ)  จิตกำลังเป็นโลภ(ความอยาก,ชอยใจ,เพลิดเพลิน)  จิตดำริประการต่างๆ(สรุปแบบจิตตานุปัสสนา)  กาย-จิต     นาม-รูป

ยุบหนอ  พองหนอ  อานาปาน ส่วนที่ 3 จากทั้งหมด 4 ขั้น  ต้องตั้งใจเรียนถึงจะปฏิบัติถูก  จงถือธรรมและวินัยเป็นศาสดาแทนเรา มิใช่หรือ

ดูลมหายใจ

เดินจงกรม

นั่งหลับเจริญ   สมาธิ   วิปัสสนา


วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2562

สัมมา...อรหัต , พุทธ..โธ ขุมทองจากอดีต

เราท่านทั้งหลายทราบ บท กรรมฐานนี้ดี จากหลายอาจารย์ จากอดีต  สู่ ปัจจุบัน


สัมมา...อรหัต , พุทธ..โธ

ตามกรรมฐาน  กล่าวได้ว่าเป็นส สมถะ 40   ชื่อว่า อนุสติ10    พุทธานุสติ  ระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า 

ในความเห็นส่วน ตัว 

สิ่งนี้มีประโยชน์ ในการนำไปสู่ ภพใหม่เวลาใกล้ ตาย เมื่อ คนสวนมาก  เจริญแบบนี้  เวลาใกล้ตายจึงง่ายดาย ที่ จะละลึกนึกถึงได้   (ในสมัย 24--)  การค้นคว้า ในพระไตรปิฎก ยังไม่แพร่หลาย เท่า สมัย google เท่าทุกวันนี้    เมื่อยังไปนิพานไม่ได้ ก็ไป พักกันบนสวรรค์ ก่อน 


>>>ปรมาจารย์ สวรรค์<<<
https://buddhaf-sati4.blogspot.com/p/6-8-3.html




>>กุญแจทอง-คล้องสวรรค์<<
https://buddhaf-sati4.blogspot.com/2019/07/blog-post.html











แผนที่ทางลัด สู่ นิพาน .................... (เขียนโดย ศิษย์มัชณิมโท)

แต่การต่อสู้ กับกิเลส ไม่มีทางลัด ..............ถ้าท่านไหนไม่เข้าใจบางคำ ก็ฟังๆๆๆ ไว้ก่อน                                               

เมื่อกิเลส ตรึงเราอยู่ทุกลมหายใจ

โลภะ (ครอบครองทั้วน่านฟ้าความคิด) 
โทสะ(ครอบครองบางสิ่งที่ไม่พอใจ)
โมหะ (ครอบครอง เจตสิก 7 ตัว เจ็ดนครใหญ่  เกิดกับทุกขณะจิต  ผัสสะ เวทนา  สัญญา เจตนา เอกคตา ชีวิตินทรี  มนสิการ)

จิต(คือราชา)  + เจตสิก 7(เสนาบดีทั้ง 7)


                            ป้ญญาเจตสิก (มหาฤาษีทรงภูมิปัญญา )



แผนที่ทางลัด สู่นิพาน

ตัวเราประกอบด้วย   จิต1 + เจตสิก52   และ รูป28

นิวรณ์ ขวางปัญญา ไว้ไม่ให้มีกำลัง

กิเลสมีประมาณ 10 ชนิด



แรกสุดเราท่านต้องตามหาปัญญา ..............(หาประมาณ 10 ปี)ถึงรู้ว่าต้องแบบนี้


เอาในเรื่องก่อน

ปัญญา มองหาไตรลักษณ์ ( อนิจจัง ,ทุกขัง , อนัตตา ) วิปัสสนาญาณ 4

แยกรูป (ด้วยอาการแบบนี้)
กายนุสติ  อริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน  และ สัมปชัญบท อริยาบทย่อย ก้าว เดิน คู้ เยียด เป็นต้น




อันนี้นอกเรื่อง ของปัญญา
ในเจตสิก 52 จะมีเจตสิก ดวง 1 ชื่อว่า ปัญญาเจตสิก  อันนี้ละปัญญาที่ตามหากัน

ปัญญาเกิด ในมหากุศล ทั้ง 8
ปัญญาสามารถ เกิดกับสมาธิ ได้ด้วย
ปัญญาเกิดในมานสิการไว้    โยนิโสไว้


ถ้าอาจารย์ บอกว่า เราสามารถ แยก เวทนา,สัญญา ได้  อาจารย์ท่าน นั้น ตกจากสภาวะที่แท้จริงแล้ว








วันพฤหัสบดีที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การนับ ห้วงเวลา

เวลาอ้างอิง ในอดีต บ้าง อนาคตบ้าง บางครั้งยาวนาน จนไม่ทราบจะ นับอย่างไร


เช่น  พุทธธันดร
(ช่วงเวลาที่โลกว่างพระพุทธศาสนา คือ ช่วงเวลาที่ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งสูญสิ้นไป และพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่ยังไม่อุบัติ.)

อายุกัปป์  (หมายถึงอายุมนุษย์ที่เกิดช่วงนั้นก็ได้)

อสงไขกัปป์  เกี่ยวกับ พรหม ที่อายุยืดยาว

อายุโลก (แบ่ง เป็น 4 ส่วน  เราสามารถ มาเกิดได้ 1 ส่วนเจริญสุด  ตอนนี้ อยู่ 12-13  จาก 64 ส่วน)

พระพุทธเจ้าเรา บำเพ็ญบารมี 4 อสงไขย์ กับ แสนกัลป์

>>มุนีนาถทีปนี<<
https://docs.google.com/file/d/0B9GGgsaIOUyKYUFlSHJhMVloRFk/edit

ความหมายของกัลป์
          พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ อธิบายคำว่า กัลป์ ไว้ว่า กาลกำหนดกำหนดอายุของโลกระยะเวลายาวนานเหลือเกินที่กำหนดว่าโลกคือสกลจักรวาลประลัยครั้งหนึ่ง ท่านให้เข้าใจด้วยอุปมาว่า เปรียบเหมือนมีภูเขาศิลาล้วน กว้าง ยาว สูง ด้านละ 1 โยชน์ ทุก 100 ปี มีคนนำผ้าเนื้ออย่างดีมาลูบครั้งหนึ่ง จนกว่าภูเขานั้นจะสึกหรอสิ้นไป กัปหนึ่งยาวนานกว่านั้น” (พระพรหมคุณาภรณ์2551: 10)
ประเภทของกัลป์
          พระพรหมคุณาภรณ์ (2551: 10-11) อธิบายคำว่า กัลป์ ซึ่งได้แก่ มหากัลป์ อสงไขยกัลป์ อันตรกัลป์ สุญกัลป์ และอสุญกัลป์ ว่า
          1. มหากัลป์ กัลป์ใหญ่ คือ กำหนดอายุของโลกอันหมายถึงสกลพิภพ
          2. อสงไขยกัลป์ คือ กัลป์อันนับเวลามิได้ คือ ส่วนย่อยแห่ง 4 มหากัลป์ ได้แก่
                   - สังวัฏฏกัลป์ กัลป์เสื่อม คือ ระยะกาลที่โลกเสื่อมลงจนถึงวินาศ
                   - สังวัฏฏฐายีกัลป์ ระยะกาลที่โลกพินาศแล้วทรงอยู่
                   - วิวัฏฏกัลป์ กัลป์เจริญ คือ ระยะกาลที่โลกกลับเจริญขึ้น
                   - วิวัฏฏฐายีกัลป์ คือ ระยะกาลที่โลกเจริญแล้วทรงอยู่
          3. อันตรกัลป์ คือ กัลป์ในระหว่าง ได้แก่ ระยะกาลที่หมู่มนุษย์เสื่อมจนส่วนใหญ่พินาศแล้ว ส่วนที่เหลือดีขึ้นเจริญขึ้นและมีอายุยืนยาวจนถึงอสงไขย แล้วกลับทรามเสื่อมลง อายุสั้นลง จนเหลือเพียงสิบปีแล้วพินาศ ครบรอบนี้เป็นอันตรกัลป์หนึ่ง 64 อันตรกัลป์เป็น 1 อสงไขยกัลป์
          4. สุญกัลป์  กัลป์ที่ว่างเปล่า คือ กัลป์ที่ไม่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ (รวมทั้งไม่มีพระปัจเจกพุทธเจ้า พระพุทธสาวกและพระเจ้าจักพรรดิราชด้วย)
          5. อสุญกัลป์  กัลป์ไม่สูญ คือ กัลป์ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ มี 5 ประเภทคือ
                   - สารกัลป์ (กัลป์ที่มีสาระขึ้นมาได้โดยมีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ) คือ กัลป์ที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติ 1 พระองค์
                   - มัณฑกัลป์ (กัลป์เยี่ยมยอด) คือ กัลป์ที่พระพุทธเจ้าอุบัติ 2 พระองค์
                   - วรกัลป์ (กัลป์ประเสริฐ) คือ กัลป์ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 3 พระองค์
                   - สารมัณฑกัลป์ (กัลป์ที่มีสาระเยี่ยมยอดยิ่งกว่ากัลป์ก่อน) คือ กัลป์ที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 4 พระองค์
                   - ภัทรกัลป์ (กัลป์ที่เจริญหรือกัลป์ที่ดีแท้) คือ กัลป์ที่พระพุทธเจ้าอุบัติ 5 พระองค์ (กัลป์ปัจจุบันที่มีพระพุทธเจ้าอุบัติ 5 พระองค์ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมน์ พระกัสสปะ พระโคตมะ ที่อุบัติแล้วและพระเมตไตรย์ที่จะอุบัติต่อไป)
สัตถันตรกัลป์ ทุพพิกขันตรกัลป์และโรคันตรกัลป์
          ทั้งสัตถัน ทุกพิกขและโรคัน ล้วนสนธิกับคำว่า อันตรกัลป์ ซึ่งหมายถึง การวินาศของสัตว์โลกอันเนื่องมาจาก สัตถัน (อาวุธ) ทุพพิกขะ (ความอดอยาก) โรคะ (โรคภัยไข้เจ็บ) ระยะเวลาแห่งการเกิดการเกิดสัตถันตรกัลป์ โรคันตรกัลป์  และทุพพิกขันตรกัลป์ เมื่อมนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุขัย 10 ปี และเต็มไปด้วยกิเลส ซึ่งมีอยู่ 3 อย่าง คือ ราคะ โทสะ และโมหะ หากมนุษย์มีความกิเลสหนักไปในทางใด ก็จะบังเกิดเป็นไปในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
          1) สัตถันตรกัลป์สาเหตุของการเกิดสัตถันตรกัลป์ คือ เมื่อมนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุขัย 10 ปี เต็มไปด้วยโทสะ ความอาฆาตพยาบาทซึ่งกันและกัน การผูกเวรต่อกัน ไม่ยำเกรงเคารพในบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ผู้มีพระคุณ ฆ่าผู้มีพระคุณ ล่วงประเวณี บิดา มารดา ญาติพี่น้องของตน บัดนั้นมนุษย์ทั้งปวงจึงหยิบอาวุธขึ้นประหัตประหารกันตายเกลื่อนแผ่นดิน มีระยะเวลา 7 วัน สัตว์ส่วนใหญ่ที่ตายไปบังเกิดในจตุราบายเพราะอำนาจของโทสะเป็นหลัก (กรมศิลปากร เล่ม 1 2520: 88)
          2) โรคันตรกัลป์  สาเหตุของโรคันตรกัลป์ คือ เมื่อมนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุขัย 10 ปี เต็มไปด้วยราคะ โรคาพยาธิต่าง ๆ ก็บังเกิดแก่มนุษย์ สัตว์ทั้งหลายก็ล้มตายกลาดเกลื่อนทั่วแผ่นดินชมพูทวีป มีระยะเวลาการเกิด 4 เดือน สัตว์ที่ตายด้วยโรคันตรกัลป์ไปบังเกิดยังสวรรค์โดยมากเพราะเหตุที่มีเมตตาจิตต่อกัน (อานุภาพเมตตา) (กรมศิลปากร เล่ม 1 2520: 93)
          3) ทุพภิกขันตรกัลป์สาเหตุของทุพภิกขันตรกัลป์ คือ เมื่อมนุษย์ในชมพูทวีปมีอายุขัย 10 ปี เต็มไปด้วยโมหะ สัตว์ทั้งปวงก็ตายด้วยความอดอยากอาหารกลาดเกลื่อนไปทั่วแผ่นดินชมพูทวีป มีระยะเวลาการเกิด 7 เดือน สัตว์ที่ตายด้วยทุพภิกขันตรกัลป์ส่วนใหญ่ไปเกิดในเปตวิสัยเนื่องจากเต็มไปด้วยความอยากในอาหาร (กรมศิลปากร เล่ม 1 2520: 93)
          ในพระไตรปิฎก จักวัตติสูตร ศาสนาพระพุทธเจ้าโคดมพระองค์ปัจจุบันมีอายุ 5000 ปี (คือ พ.ศ. 5000) เมื่อถึงเวลานั้นมนุษย์จะไม่รู้บาปรู้บุญ ทำอนาจารกับพ่อ แม่ พี่น้อง ญาติ ครูบาอาจารย์ตนเองประดุจสัตว์เดรัจฉาน มนุษย์จะมีอายุขัยเพียง 10 ปี เมื่อมีอายุ 5 ปีจะสมรสเป็นสามี ภรรยากัน เมื่อนั้นจะบัง “สัตถันตรกัลป์” คือ การฆ่าฟันกันด้วยอาวุธ หยิบจับสิ่งใดก็เป็นอาวุธประหัตประหารซึ่งกันและกันอันเนื่องมาจากโทสะที่แรงกล้าเป็นสาเหตุ ระยะเวลาที่เกิดคือ 7 วัน บุคคลผู้มีปัญญาจะไม่หลบซ่อนตามป่าเขาเมื่อพ้น 7 วันแล้วก็ออกมาแล้วเห็นผลของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจึงต่างพากันสมาน “กุศลกรรมบท 10 ประการ” อายุของลูกหลานพวกเขาเหล่านั้นจึงเจริญขึ้นเรื่อยๆ จนถึงอสงไขยแล้วอายุลดลงมาเหลือ 80,000 ปีก็จะมีพระศรีอาริยเมตไตรย์ลงมาอุบัติพร้อมกับพระเจ้าสังขจักรพรรดิราช
ไฟบรรลัยกัลป์
            หรือกัลป์วินาศด้วยไฟ ในพระไตรปิฎก สัตตสุริยสูตร กล่าวถึงกัลป์วินาศด้วยไฟ พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงสมัยที่มีพระอาทิตย์ขึ้น 7 ดวงว่า เมื่อเวลาล่วงไป ฝนไม่ตก พืชพรรณต่างๆ เหี่ยวเฉาตายไป จึงเกิดพระอาทิตย์ขึ้นดวงที่ 2 แม่น้ำลำคลองก็จะแห้งเหือดไปทั้งหมด เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 3 แม่น้ำปัญจมหานที คือ คงคา ยมมุนา อจิรวดี สรภูและมหิ จะเหือดแห้งไป เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 4 สระใหญ่ต่างๆ เช่น อโนดาต กุณาลา มันทกินิยะ เป็นต้น ก็จะเหือดแห้งไป เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 5 น้ำในมหาสมุทรจะเหือดแห้งไปเหลือเพียงนิดเดียวเท่านั้น เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 6 แผ่นดินทั้งหลายและเขาพระสุเมรุจะเกิดกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้น เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 7 จึงบังเกิดเปลวไฟเผาผลาญสรรพสิ่ง ไฟที่เผาผลาญนี้จะไม่มีเถ้าถ่านเหลืออยู่แม้แต่นิดเดียว
          คัมภีร์โลกทีปกสาร กล่าวถึงกัลป์วินาศด้วยไฟ ว่า 100,000 ปี ก่อนเกิดไฟบรรลัยกัลป์ เทวดาสวรรค์ฉกามาพจรชื่อ โลกพยุหะ นุ่งผ้าแดง พลางร้องไห้มาประกาศกับหมู่มนุษย์ว่าอีก 100,000 ปีจะเกิดไฟบรรลัยกัลป์ พวกท่านจงเร่งทำกุศลก็จะพ้นจากไฟบรรลัยกัลป์ เมื่อครบ 100,000 ปี ฝนไม่ตกเป็นระยะเวลานาน จึงเกิดพระอาทิตย์ขึ้นดวงที่ 2 แม่น้ำลำคลองก็จะแห้งเหือดไปทั้งหมด เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 3 แม่น้ำปัญจมหานที คือ คงคา ยมมุนา อจิรวดี สรภูและมหิ จะเหือดแห้งไป เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 4 สระใหญ่ต่างๆ เช่น อโนดาต กุณาลา มันทกินิยะ เป็นต้น ก็จะเหือดแห้งไป เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 5 น้ำในมหาสมุทรจะเหือดแห้งไปเหลือเพียงนิดเดียวเท่านั้น เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 6 แผ่นดินทั้งหลายและเขาพระสุเมรุจะเกิดกลุ่มควันพวยพุ่งขึ้น เมื่อบังเกิดพระอาทิตย์ดวงที่ 7 จึงบังเกิดเปลวไฟเผาผลาญสรรพสิ่งไปจนถึงพรหมชั้นอาภัสสราไฟที่เผาผลาญนี้จะไม่มีเถ้าถ่านเหลืออยู่แม้แต่นิดเดียว
          กัลป์วินาศด้วยน้ำและลมผมจะไม่ขอกล่าวถึงเพราะเป็นไปในลักษณะเดียวกันแต่เปลี่ยนเป็นลมและน้ำเท่านั้น (ทั้งหมดนี้สกัดจากความรู้บางส่วนในวิทยานิพนธ์เรื่อง“ไตรภูมิฉบับหอสมุดแห่งชาติกรุงปารีส ความสัมพันธ์ระหว่างคติพุทธกับพราหมณ์-ฮินดู” วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวรรณคดีไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. เสาวณิต  วิงวอน เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา)
ในหัวข้อต่อไปผมจะอธิบายเกี่ยวกับยุคพระศรีอาริเมตไตรย์และคุณธรรมสำคัญที่เป็นปัจจัยให้มนุษย์มีอายุยืนหรือลดลงนั่นคือ “กุศลกรรมบท 10” และ “อกุศลกรรมบท 10”
เอกสารอ้างอิง
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต). 2551. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. 2549. พระบาลีสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม 10. กรุงเทพฯ อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง
ธรรมปรีชา, พระยา. 2520. ไตรภูมิโลกวินิจฉยกถา ฉบับที่ 2 (ไตรภูมิฉบับหลวง) เล่ม 1. กรุงเทพฯ กรมศิลปากร

วันอังคารที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

กุญแจทอง-คล้อง-สวรรค์

การเกิดการตายเป็นเรื่องทำธรรมดา

แต่ เราท่านทั้ง หลาย ไม่ทราบ กฎ การตายเกิดที่แน่นอน  เพราะว่าเรา โดนอวิชาปิดไว้(ตามแบบคัมภีร์ปัฐาน)   โดนภพปิดบังไว้    โดนกรรมวิปากทำให้สับสน  โดนกิเลสทำให้อ่อนแรง   โดนวิจิกืฉาความสงสัยครอบงำอยู่  (เมื่อพระพุทธเจ้าตรัส แสดงธรรมไว้  เราท่านก็พอทราบบ้างเล็กน้อย)


เป็นการบอกวิธี ไปเกิดบนสวรรค์

การเกิดสำหรับปุถุชน คล้ายการโยนลูกเต๋าก็มิปาน   จะออกหน้าไหนก็มิทราบได้  นรก หรือ สวรรค์

แต่วิธีที่จะแสดงนี้ ทำให้ได้ ไปสวรรค์ เกือบ 100%


เหมือนเราตกน้ำ แต่เราว่ายน้ำเป็น ก็สบายละ

จะสอนวิธีว่ายน้ำให้นั้นเอง
(กุญแจทองดอกนี้ นำพาไปสวรรค์ แต่ถ้ามีหายดอกก็อยู่นานหน่อย )

1. เราตายแล้วก็เกิด  (หามีวิญญาณออกจากแรกแต่อย่างใดไม่)
      >>><<<
2. เวลา จะตายจะมีนิมิต 1 ใน  3  ออกมาแสดงชัดแจนที่สุด
   >>> อ่านเพิ่มเติม <<<

กรรมทีปนี   (อาสันนกรรม หน้า 150)
https://suwit2019.blogspot.com/p/blog-page_92.html

จิตวิญญาณ
https://suwit2019.blogspot.com/p/blog-page_30.html

ความตาย มรณสันวิถี
https://suwit2019.blogspot.com/p/blog-page_13.html




3. สมาทานศีล 5 ต้องได้ดังใจนึก (สำคัญมากๆ)
 >>เรื่องตัวอย่างที่พบในพระสูตร<<  (อ่านพระสูตรที่อยู่ใต้รูป)


4. ต้องทดลองเวลา ป่วยหรือเจ็บไข้  เวลาเราปวดเราเจ็บ ว่าเรา จะสมาทาศีล 5 ได้ดีแค่ไหน





วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562

กำแพง 4 ด้าน จิตเป็นไปในเบื้องหน้า (กำลัง เขียนอยู่)


1. ด้านหลัง ต้อง เป็น ศีล

2. ทางซ้าย ต้องเป็นความรู้ในการเจริญ วิปัสสนา และ  สาระรอบรู้ทั้งหลาย ทั้งดีและชั่ว

3. ทางขวา  สัมมปธาน 4    หยุดอกุศล และไม่ให้เกิดอีก   ทำให้กุศลเกิด  ตั้งได้นาน

4. ด้านหน้า    จิต   (มีอารมณ์ ตลอดเวลา )

               กำหนดรู้ (สติปัฐาน 4)
               ควรละ   (โลภะ 8)     ทำสัมปธาน 4   นับเป็นขณะ  ถ้าหยุดอกุศลได้  ภพชั่วก็ไม่ได้เกิด 1 ภพ
               ทำให้แจ้ง  (นิพาน)   มัคค   ผล
                ควรเจริญ  (มรรค 8)


1. อนุปุพิกถา5   ทาน   ศีล   สวรรค์   โทษของกาม   การออกบวช

ศีล   ต้องกำหนดได้ ว่า ล่วงเพราะเหตุ ใดได้บ้าง  ถึง จะมนสิการ ได้ดี

>>ศีล<<  (อ่านเพิ่มเติม)


.......................................................

2. กรรมฐาน   หรือ วิปัสสนากรรมฐาน    สติปัฎฐาน 4    ที่ตั้งการงานทางใจ

ดำรงในปัจจุบันขณะ     อาศัย ปรมัตถ 4   รูป   จิต   เจตสิก  (นิพาน)

รูป หยาบสุด

จิต   รับรู้อารมณ์

เจตสิก ประกอบตลอดเดวลา   


ถึงจะแยกรูปและนาม    เป็นเบื้องต้น นำไปสู่      ความจริงหน้ากลัว ของ ของสิ่งรูปจะสลายไปเพราะอุตุทั้ง 4  การเกิด   กรรม   สวรรค์  และ  นรก     ความหวาดหวัน  ก็ย่อมปรากฎ ขึ้น  ในตอนท้ายๆ

เมื่อเห็นเป็นภัย หาทางหนี    แต่หนี ไม่พ้น  ก็จำใจต้องยอมรับ 




3. สัมมปธาน 4
   การหยุด อกุศล ฝ่ายชั่ว ไม่ให้เกิดขึ้นในใจ       สิ่งที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปโดยเร็ว

   ทำการกุศลให้เกิด ขึ้น    สิ่งที่เกิดขึ้นก็ทำให้ตั้งมั่นอยู่นานๆๆๆ

   พูดง่าย แต่ทำยาก   สิ่งเหล่านี้เกิดในใจ  อาจจะเรียกว่า ควบคุมไม่ได้ 

   -1  ต้องรู้ก่อนว่า สิ่งใดคือ ความคิดดี และ ความคิดชั่ว
         - ฝายดีทำแล้วอิ่มเอิบใจ ไม่รู้สึกเสียใจในภายหลัง    นำไปสู่สวรรค์
        - ผ่ายชั่ว ทำแล้วนึกเสียใจในภายหลัง ลุ่มร้อน  นำไปสู่ นรก อบายภูมิ


   -2 ต้องมนสิการ จะทำกุศล  จะ ละอกุศล ทั้งเกิดก็จะให้หมดไปโดยเลย และไม่ทำให้เกิดอีก
             >>  มนสิการเจตสิก<<   ประกอบกับจิตทุกดวง   เอาแล้วไง 
           










วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กฎ ของผู้ธรรลุธรรม

รวมรวมจากพระไตรปิฎ (ความเห็นส่วนตัว)

1.การเจริญอานปานสติ   (ยากที่พระอรหันต์ จะกล่าวแบบนี้   )

(แนะนำให้เจริญ สติปัฎฐาน 4  หน้าจะเห็นผลง่ายกว่า อานาปานสติ)

(ในพระสูตร ไม่มีสาวก คนไหน   สำเร็จได้เลยด้วยอานาปานสติ     )

(ส่วนการเจริญ 7ปี 7เดือน 7วัน   บุญไม่ได้ทำมามาก  ก็ย่อยไม่สำเร็จ  ในชาตินี้)

(มีแต่พระสัมามาสัทพุทธเจ้าทำได้ (ตอนเป็น พระสิทธัตถะกุมารทำได้ ญาณ4)    เช่น เดียวกับ ยมกปาฎิหาร)

>>เพราะ พุทธเจ้า สร้างบารมี มามากกว่าสาวกเยอะๆๆๆๆๆๆๆๆ<<


อานาปานสติ  เป็น 1 ใน สมถะ 40        ทำได้ถึง ญาณ 4

>>สมถะ 40<<        >>การฝึกสมถะ 40 และ อภิญญา 6<<


อานปานสติ   ยังเป็น 1 ในวิปัสสนากรรมฐานด้วย(กายานุปัสสนา)

>>สติปัฎฐาน 4<<



วิปัสนนา ใช้เพียงสมาธิขั้นกลาง ข่ม นิวรณ์ 5   ได้ นิมิตไม่ได้มี



2.  จิตออกจากร่าง   (คนสอนก็เป็นอรหันต์ปล่อม 100%)


อภิธรรม แสดงไว้ว่า      จิต และ เจตสิก    ต้อง อาศัย หทัยวัตถุเกิด

หทัยวัตถุ  (เป็นรูป  หรือ ร่างกาย )

>>สนใจศึกษา  ปริเฉทที่ 6<<   หน้า 40

ออกไปนอนร่างกายได้ ก็เป็นสิ่งอื่น ไม่ใช่จิตแล้ว


สรุป ตามประสบการผู้เคยประสบกันที่เล่าๆๆๆๆๆๆๆๆ    หน้าจะเป็น ความฝันมากว่า



3.  ทำจิตให้ว่างเปล่า (อันนี้ก็ปลอมแน่นอน)

อย่างแรก พระที่สอนแบบนี้ เป็นพระรุ่นเก่า การศึกษาไม่ สามารถค้น หาทางเน็ทได้แน่นอน


จิต  ทำหน้าที่   อยากเดียว คือ รับรู้อารมณ์     ที่มาทาง ตา  หู  จมูก  ลิ้น   กาย   ใจ

จิต + เจตสิก   =  นาม  (เวทนา    สัญญา    สังขาร      วิญญาณ)ขันธ์ 4


เจตสิก ประกอบกับ จิต  +  ทำให้อารมณ์ที่จิตรับ วุ้นวายไป อีก   


เจตสิก ประกอบกับจิตทุกดวง   มี  7   (  น้อยสุด   )

ผัสส(วิญญาณ)   เว ทนา   สัญญา     เจตนา     เอกคตา    ชีวติ    มนสิการ


แบบนี้จะเอา อะไรมาว่างได้...........???????????????


4.  บอกว่า ดับ เจตสิก1 ใน 7 ดวงได้    (อันนี้ยิ่งทำไม่ได้ใหญ่ปลอม)


เช่น   บอก ว่า ดับ   เวทนา      เวทนาเจตสิิก เกิดทุกๆขณะจิต    คำสอนนี้ใช้ไม่ได้   ตามสภาวะธรรม



             ดับสัญญาญ    แม้แต่เข้านิโรธสามบัติ  ยัง บอกว่ามีก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่ ละเอียดมากๆๆ


    ผัสส(วิญญาณ)   เว ทนา   สัญญา     เจตนา     เอกคตา    ชีวติ    มนสิการ

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การนั่งหลับตา

คือ รูป ภาพแสดง ถึงการเจริญกรรมฐาน ตามสำนักต่างๆๆ

สงสัยมัย ว่า เขากำลังเจริญ อะไรอยู่นั้น

ในใจพวกเขา ต้นกล้าแบบไหนกำลังเจริญเติบโตขึ้น  เกิดขึ้น

แบบนี้ถึงมีสาระ ของศาสนา นี้


ยืน เดิน นั่น และ นอน   เป็น อริยาบถ   พิจารณาดูรูปท่าทาง นั่ง อันนี้เป็นปัจจุบัน ในขณะนั้น  ดูมากๆๆ ดูให้เยอะๆๆ   (หลับตา หรือ ลืมตา ก็ใจกำหนดเห็นท่าทาง ในปัจจุบันขณะ ได้  เรียกว่า ตรงปัจจุบันอารมร์)

เมื่อต้นไม้ปัญญาเติบใหญ่ขึ้น

เหลี่ยวซ้าย ขาว  เหยีดออก คู้เข้า   เป็นสัมปชัญญะ   อิริยาบถย่อย  ละเอียดลึกซึ้ง  ใช้กำลัง ของสติมากๆๆ ขึ้นอีกขั้นหนึ่ง


ข้อมูลเยอะ จะได้พิจารณาได้ทั่วๆๆ ไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็เคยเห็นแล้ว







วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ดาบส อยู่ในสถานที่แบบไหน ในโลก

ดาบสทั้งหลาย  จะอยู่ในป่า หรือ อยู่อุทยานของพระราชาเป็นผู้นิมนต์

สมจริงดังคำกล่าวนี้

นิมิต  ดวงกสิณ ทั้ง 10 ประคองไว้โดยยาก ดัง  บาตรที่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำมัน  ต้องใช้สติ และกาย ถึงจะคองไว้ไม่ให้หก

ในหลายพระสูตร    ฤาษี  แค่มองรูปสตรี เพียงครั้งเดียว ญาณ เสื่อมทันที อนุภาพสตรี  ทำลายตบะ ได้ ดังนี้

เป็นที่มาว่า ทำมัย ท่านถึง ไม่สามารถ อยู่ใน วิหาร คามนิคม ได้  เพราะ การสำรวม ทำได้ด้วยอยาก


หลายท่าน อาจสงสัย ว่าทำมัย แค่ดูรูปสตรี ญาณถึงเสื่อมได้

การเจริญ ชาญ คือ การกดข่ม นิวรณ์ 5 ไว้ได้นั้นเอง   รูปสตรี เป็นกามคุณอารมณ์ อันยอดของนิวรณ์ 5 


>>สมถะ 40<<   และ   >>การเจริญอภิญาณ <<

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. สรภังคชาดก
สรภังคดาบสเฉลยปัญหา
[๒๔๔๖] ท่านทั้งหลายผู้ประดับแล้ว สอดใส่กุณฑล นุ่งห่มผ้างดงาม เหน็บพระ ขรรค์มีด้ามประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ และแก้วมุกดา เป็นจอมพลรถยืนอยู่ เป็นใครกันหนอ ชนทั้งหลายในมนุษยโลกจะรู้จักท่านทั้งหลายอย่างไร? [๒๔๔๗] ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ชื่อว่าอัฏฐกะ ส่วนท่านผู้นี้ คือ พระเจ้าภีมรถะ และท่านผู้นี้ คือพระเจ้ากาลิงคราช มีพระเดช ฟุ้งเฟื่อง ข้าพเจ้า ทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อเยี่ยมท่านฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมด้วยดี และเพื่อจะ ขอถามปัญหา. [๒๔๔๘] ท่านเหาะลอยอยู่ในอากาศเวหา ดังพระจันทร์ลอยเด่นอยู่ท่ามกลางท้อง ฟ้าในวัน ๑๕ ค่ำ ฉะนั้น ดูกรเทพเจ้า อาตมภาพขอถามท่านผู้มีอานุภาพ มาก ชนทั้งหลายในมนุษยโลกจะรู้จักท่านอย่างไร? [๒๔๔๙] ในเทวโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า สุชัมบดี ในมนุษยโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า ท้าวมฆวา ข้าพเจ้านั้น คือ ท้าวเทวราช วันนี้มาถึงที่นี่ เพื่อขอเยี่ยม ท่านฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้วด้วยดี. [๒๔๕๐] ฤาษีทั้งหลายของข้าพเจ้า ผู้มีฤทธิ์มาก ประกอบด้วยอิทธิคุณ มาประชุม พร้อมกันแล้ว ปรากฏไปในที่ไกล ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ขอไหว้พระ- คุณเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ในชีวโลกนี้. [๒๔๕๑] กลิ่นแห่งฤาษีทั้งหลายผู้บวชมานาน ย่อมออกจากกายฟุ้งไปตามลมได้ ดูกรท้าวสหัสสเนตร เชิญมหาบพิตรถอยไปเสียจากที่นี่ ดูกรท้าวเทวราช กลิ่นของฤาษีทั้งหลายไม่สะอาด. [๒๔๕๒] กลิ่นแห่งฤาษีทั้งหลายผู้บวชมานาน จงออกจากกายฟุ้งไปตามลมเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมมุ่งหวังกลิ่นนั้น ดังพวง บุปผาชาติอันวิจิตรมีกลิ่นหอม เพราะว่าเทวดาทั้งหลายมิได้มีความสำคัญ ในกลิ่นนี้ ว่าเป็นปฏิกูล. [๒๔๕๓] ท้าวมัฆวานสุชัมบดีเทวราช องค์ปุรินททะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูต มีพระ ยศ เป็นจอมแห่งทวยเทพ ทรงย่ำยีหมู่อสูร ทรงรอคอยโอกาส เพื่อ ตรัสถามปัญหา. บรรดาฤาษีผู้เป็นบัณฑิตเหล่านี้ ณ ที่นี้ ใครเล่าหนอ ถูกถามแล้วจักพยากรณ์ปัญหาอันสุขุม ของพระราชา ๓ พระองค์ผู้เป็น ใหญ่ในหมู่มนุษย์ และของท้าววาสวะผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพได้? [๒๔๕๔] ท่านสรภังคฤาษีผู้เรืองตบะนี้ เว้นจากเมถุนธรรมตั้งแต่เกิดมา เป็นบุตร ของปุโรหิตาจารย์ ได้รับฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ท่านจักพยากรณ์ปัญหา ของพระราชาเหล่านั้นได้. [๒๔๕๕] ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดพยากรณ์ปัญหา ฤาษีทั้งหลายผู้ยัง ประโยชน์ให้สำเร็จ พากันขอร้องท่าน ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ภาระนี้ ย่อมมาถึงท่านผู้เจริญด้วยปัญญา นี่เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์. [๒๔๕๖] มหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย อาตมภาพให้โอกาสแล้ว เชิญตรัสถามปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามพระหฤทัยปรารถนาเถิด ก็อาตมภาพรู้โลกนี้และ โลกหน้าเองแล้ว จักพยากรณ์ปัญหานั้นๆ แก่มหาบพิตรทั้งหลาย. [๒๔๕๗] ลำดับนั้น ท้าวมัฆวานสักกเทวราชปุรินททะ ทรงเห็นประโยชน์ ได้ ตรัสตามปัญหาอันเป็นปฐม ดังที่พระทัยปรารถนาว่า บุคคลฆ่าซึ่งอะไรสิ จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละ อะไรบุคคลพึงอดทนคำหยาบที่ใครๆ ในโลกนี้กล่าวแล้ว ข้าแต่ท่าน โกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด? [๒๔๕๘] บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่ บุคคลควรอดทนคำหยาบที่ชนทั้งปวง กล่าว สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด. [๒๔๕๙] บุคคลอาจจะอดทนถ้อยคำของคนทั้ง ๒ พวกได้ คือ คนที่เสมอกัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่าตน ๑ จะอดทนถ้อยคำของคนเลวกว่าได้อย่างไรหนอ ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด? [๒๔๖๐] บุคคลพึงอดทนถ้อยคำของคนผู้ประเสริฐกว่าได้ เพราะความกลัว พึงอด ทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ ส่วนผู้ใดใน โลกนี้ พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความ อดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด. [๒๔๖๑] ไฉนจึงจะรู้จักคนประเสริฐกว่า คนที่เสมอกัน หรือคนที่เลวกว่า ซึ่งมี สภาพอันอิริยาบถทั้ง ๔ ปกปิดไว้ เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเที่ยว ไปด้วยสภาพของคนชั่วได้ เพราะเหตุนั้นแล จึงควรอดทนถ้อยคำของคน ทั้งปวง. [๒๔๖๒] สัตบุรุษผู้มีความอดทน พึงได้ผลคือความไม่มีการกระทบกระทั่ง เพราะ การสงบระงับเวร เสนาแม้มากพร้อมด้วยพระราชาเมื่อรบอยู่ จะพึงได้ ผลนั้นก็หามิได้ เวรทั้งหลายย่อมระงับด้วยกำลังแห่งขันติ. [๒๔๖๓] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน แต่จะขอถามปัญหาอื่นๆ กะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น โดยมีพระราชา ๔ พระองค์ คือ พระเจ้า ทัณฑกี ๑ พระเจ้านาลิกีระ ๑ พระเจ้าอัชชุนะ ๑ พระเจ้ากลาพุ ๑ ขอ ท่านได้โปรดบอกคติของพระราชาเหล่านั้น ผู้มีบาปกรรมอันหนัก พระ- ราชาทั้ง ๔ องค์นั้นเบียดเบียนฤาษีทั้งหลาย พากันบังเกิด ณ ที่ไหน? [๒๔๖๔] พระเจ้าทัณฑกี ได้เรี่ยรายโทษลง ณ ท่านกีสวัจฉดาบสแล้ว เป็นผู้มีมูล อันขาดแล้ว พร้อมทั้งบริษัท พร้อมทั้งชาวแว่นแคว้น หมกไหม้อยู่ใน นรกชื่อกุกกูละ ถ่านเพลิงปราศจากเปลว ย่อมตกลงบนพระกายของ พระราชานั้น. พระเจ้านาลิกีระได้เบียดเบียนบรรพชิตทั้งหลายผู้สำรวม แล้ว ผู้กล่าวธรรมสงบระงับ ไม่ประทุษร้ายใคร สุนัขทั้งหลายในโลก หน้า ย่อมรุมกันกัดกินพระเจ้านาลิกีระนั้นผู้ดิ้นรนอยู่. อนึ่ง พระเจ้า อัชชุนะ พระเศียรปักพระบาทขึ้น ตกลงในสัตติสูลนรก เพราะเบียด เบียน อังคีรสฤาษีผู้โคดม ผู้มีขันติ มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์มานาน. พระเจ้ากลาพุได้ทรงเชือดเฉือนฤาษีชื่อขันติวาที ผู้สงบระงับ ไม่ประทุษ ร้ายให้เป็นท่อนๆ พระเจ้ากลาพุนั้น ได้บังเกิดหมกไหม้อยู่ในอเวจีนรก อันร้อนใหญ่ มีเวทนากล้า น่ากลัว. บัณฑิตได้ฟังนรกเหล่านี้ และนรก เหล่าอื่นอันชั่วช้ากว่านี้ในที่นี้แล้ว ควรประพฤติธรรมในสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้กระทำอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์. [๒๔๖๕] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่ามีศีล เรียกคนเช่นไร ว่ามีปัญญา เรียกคนเช่นไรว่าสัตบุรุษ ศิริย่อมไม่ละคนเช่นไรหนอ? [๒๔๖๖] ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ ไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล. ผู้ใด คิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามี ปัญญา. ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา มีกัลยาณมิตร และมี ความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ บัณฑิตเรียก คนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ. ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมทั้งปวงเหล่านี้ คือ เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความประสงค์ ศิริย่อมไม่ ละคนเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย. [๒๔๖๗] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีล ศิริ ธรรม ของสัตบุรุษ และปัญญา ว่าข้อไหนประเสริฐกว่ากัน? [๒๔๖๘] ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ปัญญานั่นแหละประเสริฐสุด ดุจ พระจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีล ศิริ และธรรมของ สัตบุรุษ ย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา. [๒๔๖๙] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บุคคลในโลกนี้ทำอย่างไร ทำด้วยอุบาย อย่างไร ประพฤติอะไร เสพอะไร จึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรดบอก ปฏิปทาแห่งปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีปัญญา? [๒๔๗๐] บุคคลควรคบหาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดละออ เป็นพหูสูต พึงเป็นทั้ง นักเรียน และไต่ถาม พึงตั้งใจฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ นรชนทำอย่าง นี้จึงจะเป็นผู้มีปัญญา. ผู้มีปัญญานั้นย่อมพิจารณาเห็นกามคุณทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นโรค ผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกามทั้งหลายอันเป็นทุกข์ มีภัยอันใหญ่หลวงเสียได้. ผู้นั้นปราศจากราคะแล้ว กำจัดโทสะได้ พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ งดอาชญาในสัตว์ทุกจำพวกแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงแดนพรหม. [๒๔๗๑] การมาของมหาบพิตรผู้มีพระนามว่า อัฏฐกะ ภีมรถะ และกาลิงคราช ผู้มีพระเดชานุภาพฟุ้งเฟื่องไป เป็นการมาที่มีฤทธิ์ใหญ่โต ทุกๆ พระ องค์ทรงละกามราคะได้แล้ว. [๒๔๗๒] ท่านเป็นผู้รู้จิตผู้อื่น ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กระผมทุกคนละกามราคะได้ แล้ว ขอท่านจงให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ตามที่กระผมทั้งหลายจะรู้ ถึงคติของท่านได้. [๒๔๗๓] อาตมาให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ เพราะมหาบพิตรทั้งหลาย ละกาม ราคะได้อย่างนั้นแล้ว จงยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอันไพบูลย์ ตามที่ มหาบพิตรทั้งหลายจะทรงทราบถึงคติของอาตมา. [๒๔๗๔] ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน กระผมทั้งหลายจักทำตามคำสั่งสอนที่ ท่านกล่าวทุกอย่าง กระผมทั้งหลายจะยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอัน ไพบูลย์ ตามที่กระผมทั้งหลายจะรู้ถึงคติของท่าน. [๒๔๗๕] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายผู้มีคุณความดี ทำการบูชานี้แก่ กีสวัจฉดาบสแล้ว จงพากันไปยังที่อยู่ของตนๆ เถิด ท่านทั้งหลายจง เป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นทุกเมื่อเถิด ความยินดีนี้ เป็นคุณชาติ ประเสริฐสุดของบรรพชิต. [๒๔๗๖] ชนเหล่านั้นได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ฤาษีผู้เป็น บัณฑิตกล่าวดีแล้ว เกิดปีติโสมนัส พากันอนุโมทนาอยู่ เทวดา ทั้งหลายผู้มียศ ต่างก็พากันกลับไปสู่เทพบุรี. คาถาเหล่านี้มีอรรถ พยัญชนะดี อันฤาษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว คนใดคนหนึ่งฟังคาถา เหล่านี้ให้มีประโยชน์ พึงได้คุณพิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ครั้น แล้วพึงบรรลุถึงสถานที่อันมัจจุราชมองไม่เห็น. [๒๔๗๗] สาลิสสรดาบสในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร เมณฑิสสรดาบสในกาลนั้น เป็นพระกัสสปะ ปัพพตดาบสในกาลนั้นเป็นพระอนุรุทธะ เทวิลดาบส ในกาลนั้น เป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสดาบสในกาลนั้นเป็นพระอานนท์ กีสวัจฉดาบสในกาลนั้น เป็นโกลิตมหาโมคคัลลานะ นารทดาบสใน กาลนั้น เป็นพระอุทายีเถระ บริษัทในกาลนั้น เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ สรภังคดาบสโพธิสัตว์ในกาลนั้น คือตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดก ไว้อย่างนี้แล.
จบ สรภังคชาดกที่ ๒.


ธรรมบทข้างบน

ศีล 5 ย่อมรักษาโลกนี้ไว้

ความโกรธ  ไม่ยังให้ผลดีเกิดขึ้นเลย   โทจตุกะ4  โทสะ(โกรธ)  อิสสา(อิฉา)  มัฉริย(ตระหนี)  กุก(รำคาญใจเวลาทำชั่วสำเร็จแล้ว)

การสดับรับฟัง ผู้รู้ย่อมนำมาซื้งปัญญา สั่งสมกันไว้

กามราคะ คือยอด ของนิวรณ์ 5    อันขวางปุถุชน กับ ดาบสผู้มีฤษธฺิ์

การข่มนิวรณ์ 5  หรือเจริญสมถะ

ใช้ในอารมณ์ 40   ส่วนมาเป็นบัญญติ ข่มไว้
         บริกรรมนิมิต
วิตก       --->   ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์      --->  สะกดข่ม  ข้อที่3 -- ถีนะ (หดหู่)-- มิทธะ(ง่วงนอน)
วิจาร์      --->  เคล้าหลึงในอารมณ์ (ประคองไว้)    --->   ข้อที่5  ลังเสลสงสัย ไปทุกสิ่งทุกอย่าง
         นิมิตรเกิด  อุปจาระ
ปิติ         --->
สุข          --->
เอกคตา    --->




นิวรณ์ 5 (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง — hindrances.)
       1. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ — sensual desire)
       2. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ — illwill)
       3. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม — sloth and torpor)
       4. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล — distraction and remorse; flurry and worry; anxiety)
       5. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย — doubt; uncertainty)


ภาวนา 3 (การเจริญ หมายถึงการเจริญกรรมฐานหรือฝึกสมาธิขั้นต่างๆ — stages of mental culture)
       1. บริกรรมภาวนา (ภาวนาขั้นบริกรรม, ฝึกสมาธิขั้นตระเตรียม ได้แก่ การถือเอานิมิตในสิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น เพ่งดวงกสิณ หรือนึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจเป็นต้น กล่าวสั้นๆ คือ การกำหนดบริกรรมนิมิตนั่นเอง — preliminary stage) ได้ในกรรมฐานทั้ง 40
       2. อุปจารภาวนา (ภาวนาขั้นจวนเจียน, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอุปจาร ได้แก่ เจริญกรรมฐานต่อไป ถึงขณะที่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นในกรรมฐานที่เพ่งวัตถุก็ดี นิวรณ์สงบไปในกรรมฐานประเภทนึกเป็นอารมณ์ก็ดี นับแต่ขณะนั้นไปจัดเป็นอุปจารภาวนา — proximate stage) ขั้นนี้เป็น กามาวจรสมาธิ ได้ในกรรมฐานทั้ง 40; อุปาจารภาวนา สิ้นสุดแค่โคตรภูขณะ ในฌานชวนะ
       3. อัปปนาภาวนา (ภาวนาขั้นแน่วแน่, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอัปปนา ได้แก่ เสพปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ จนบรรลุปฐมฌาน คือ ถัดจากโคตรภูขณะในฌานชวนะเป็นต้นไป ต่อแต่นั้นเป็นอัปปนาภาวนา - concentrative or attainment stage) ขั้นนี้เป็นรูปาวจรสมาธิ ได้เฉพาะในกรรมฐาน 30 คือ หักอนุสสติ 8 ข้างต้น ปฏิกูลสัญญา 1 และจตุธาตุวัตถาน 1 ออกเสีย คงเหลือ อสุภะ 10 และกายคตาสติ 1 (ได้ถึงปฐมฌาน) อัปปมัญญา 3 ข้อต้น (ได้ถึงจตุตถฌาน) อัปปมัญญาข้อท้ายคืออุเบกขา 1 กสิณ 10 และ อานาปานสติ 1 (ได้ถึงปัญจมฌาน) อรูป 4 (ได้อรูปฌาน)



ห้องภาพ
ทางไปสวรรค์ : https://buddhaf-sati4.blogspot.com/2019/04/blog-post_21.html
สมถะ 40 : https://buddhaf-sati4.blogspot.com/2019/04/blog-post_22.html

วิปัสสนา :  https://buddhaf-sati4.blogspot.com/2019/05/blog-post_26.html?m=1