หน้าเว็บ

หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กฎ ของผู้ธรรลุธรรม

รวมรวมจากพระไตรปิฎ (ความเห็นส่วนตัว)

1.การเจริญอานปานสติ   (ยากที่พระอรหันต์ จะกล่าวแบบนี้   )

(แนะนำให้เจริญ สติปัฎฐาน 4  หน้าจะเห็นผลง่ายกว่า อานาปานสติ)

(ในพระสูตร ไม่มีสาวก คนไหน   สำเร็จได้เลยด้วยอานาปานสติ     )

(ส่วนการเจริญ 7ปี 7เดือน 7วัน   บุญไม่ได้ทำมามาก  ก็ย่อยไม่สำเร็จ  ในชาตินี้)

(มีแต่พระสัมามาสัทพุทธเจ้าทำได้ (ตอนเป็น พระสิทธัตถะกุมารทำได้ ญาณ4)    เช่น เดียวกับ ยมกปาฎิหาร)

>>เพราะ พุทธเจ้า สร้างบารมี มามากกว่าสาวกเยอะๆๆๆๆๆๆๆๆ<<


อานาปานสติ  เป็น 1 ใน สมถะ 40        ทำได้ถึง ญาณ 4

>>สมถะ 40<<        >>การฝึกสมถะ 40 และ อภิญญา 6<<


อานปานสติ   ยังเป็น 1 ในวิปัสสนากรรมฐานด้วย(กายานุปัสสนา)

>>สติปัฎฐาน 4<<



วิปัสนนา ใช้เพียงสมาธิขั้นกลาง ข่ม นิวรณ์ 5   ได้ นิมิตไม่ได้มี



2.  จิตออกจากร่าง   (คนสอนก็เป็นอรหันต์ปล่อม 100%)


อภิธรรม แสดงไว้ว่า      จิต และ เจตสิก    ต้อง อาศัย หทัยวัตถุเกิด

หทัยวัตถุ  (เป็นรูป  หรือ ร่างกาย )

>>สนใจศึกษา  ปริเฉทที่ 6<<   หน้า 40

ออกไปนอนร่างกายได้ ก็เป็นสิ่งอื่น ไม่ใช่จิตแล้ว


สรุป ตามประสบการผู้เคยประสบกันที่เล่าๆๆๆๆๆๆๆๆ    หน้าจะเป็น ความฝันมากว่า



3.  ทำจิตให้ว่างเปล่า (อันนี้ก็ปลอมแน่นอน)

อย่างแรก พระที่สอนแบบนี้ เป็นพระรุ่นเก่า การศึกษาไม่ สามารถค้น หาทางเน็ทได้แน่นอน


จิต  ทำหน้าที่   อยากเดียว คือ รับรู้อารมณ์     ที่มาทาง ตา  หู  จมูก  ลิ้น   กาย   ใจ

จิต + เจตสิก   =  นาม  (เวทนา    สัญญา    สังขาร      วิญญาณ)ขันธ์ 4


เจตสิก ประกอบกับ จิต  +  ทำให้อารมณ์ที่จิตรับ วุ้นวายไป อีก   


เจตสิก ประกอบกับจิตทุกดวง   มี  7   (  น้อยสุด   )

ผัสส(วิญญาณ)   เว ทนา   สัญญา     เจตนา     เอกคตา    ชีวติ    มนสิการ


แบบนี้จะเอา อะไรมาว่างได้...........???????????????


4.  บอกว่า ดับ เจตสิก1 ใน 7 ดวงได้    (อันนี้ยิ่งทำไม่ได้ใหญ่ปลอม)


เช่น   บอก ว่า ดับ   เวทนา      เวทนาเจตสิิก เกิดทุกๆขณะจิต    คำสอนนี้ใช้ไม่ได้   ตามสภาวะธรรม



             ดับสัญญาญ    แม้แต่เข้านิโรธสามบัติ  ยัง บอกว่ามีก็ไม่ใช่ไม่มีก็ไม่ใช่ ละเอียดมากๆๆ


    ผัสส(วิญญาณ)   เว ทนา   สัญญา     เจตนา     เอกคตา    ชีวติ    มนสิการ

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

การนั่งหลับตา

คือ รูป ภาพแสดง ถึงการเจริญกรรมฐาน ตามสำนักต่างๆๆ

สงสัยมัย ว่า เขากำลังเจริญ อะไรอยู่นั้น

ในใจพวกเขา ต้นกล้าแบบไหนกำลังเจริญเติบโตขึ้น  เกิดขึ้น

แบบนี้ถึงมีสาระ ของศาสนา นี้


ยืน เดิน นั่น และ นอน   เป็น อริยาบถ   พิจารณาดูรูปท่าทาง นั่ง อันนี้เป็นปัจจุบัน ในขณะนั้น  ดูมากๆๆ ดูให้เยอะๆๆ   (หลับตา หรือ ลืมตา ก็ใจกำหนดเห็นท่าทาง ในปัจจุบันขณะ ได้  เรียกว่า ตรงปัจจุบันอารมร์)

เมื่อต้นไม้ปัญญาเติบใหญ่ขึ้น

เหลี่ยวซ้าย ขาว  เหยีดออก คู้เข้า   เป็นสัมปชัญญะ   อิริยาบถย่อย  ละเอียดลึกซึ้ง  ใช้กำลัง ของสติมากๆๆ ขึ้นอีกขั้นหนึ่ง


ข้อมูลเยอะ จะได้พิจารณาได้ทั่วๆๆ ไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร อย่างน้อยก็เคยเห็นแล้ว







วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ดาบส อยู่ในสถานที่แบบไหน ในโลก

ดาบสทั้งหลาย  จะอยู่ในป่า หรือ อยู่อุทยานของพระราชาเป็นผู้นิมนต์

สมจริงดังคำกล่าวนี้

นิมิต  ดวงกสิณ ทั้ง 10 ประคองไว้โดยยาก ดัง  บาตรที่เต็มเปี่ยมด้วยน้ำมัน  ต้องใช้สติ และกาย ถึงจะคองไว้ไม่ให้หก

ในหลายพระสูตร    ฤาษี  แค่มองรูปสตรี เพียงครั้งเดียว ญาณ เสื่อมทันที อนุภาพสตรี  ทำลายตบะ ได้ ดังนี้

เป็นที่มาว่า ทำมัย ท่านถึง ไม่สามารถ อยู่ใน วิหาร คามนิคม ได้  เพราะ การสำรวม ทำได้ด้วยอยาก


หลายท่าน อาจสงสัย ว่าทำมัย แค่ดูรูปสตรี ญาณถึงเสื่อมได้

การเจริญ ชาญ คือ การกดข่ม นิวรณ์ 5 ไว้ได้นั้นเอง   รูปสตรี เป็นกามคุณอารมณ์ อันยอดของนิวรณ์ 5 


>>สมถะ 40<<   และ   >>การเจริญอภิญาณ <<

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
๒. สรภังคชาดก
สรภังคดาบสเฉลยปัญหา
[๒๔๔๖] ท่านทั้งหลายผู้ประดับแล้ว สอดใส่กุณฑล นุ่งห่มผ้างดงาม เหน็บพระ ขรรค์มีด้ามประดับด้วยแก้วไพฑูรย์ และแก้วมุกดา เป็นจอมพลรถยืนอยู่ เป็นใครกันหนอ ชนทั้งหลายในมนุษยโลกจะรู้จักท่านทั้งหลายอย่างไร? [๒๔๔๗] ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์ชื่อว่าอัฏฐกะ ส่วนท่านผู้นี้ คือ พระเจ้าภีมรถะ และท่านผู้นี้ คือพระเจ้ากาลิงคราช มีพระเดช ฟุ้งเฟื่อง ข้าพเจ้า ทั้งหลายมาในที่นี้ เพื่อเยี่ยมท่านฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมด้วยดี และเพื่อจะ ขอถามปัญหา. [๒๔๔๘] ท่านเหาะลอยอยู่ในอากาศเวหา ดังพระจันทร์ลอยเด่นอยู่ท่ามกลางท้อง ฟ้าในวัน ๑๕ ค่ำ ฉะนั้น ดูกรเทพเจ้า อาตมภาพขอถามท่านผู้มีอานุภาพ มาก ชนทั้งหลายในมนุษยโลกจะรู้จักท่านอย่างไร? [๒๔๔๙] ในเทวโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า สุชัมบดี ในมนุษยโลกเขาเรียกข้าพเจ้าว่า ท้าวมฆวา ข้าพเจ้านั้น คือ ท้าวเทวราช วันนี้มาถึงที่นี่ เพื่อขอเยี่ยม ท่านฤาษีทั้งหลายผู้สำรวมแล้วด้วยดี. [๒๔๕๐] ฤาษีทั้งหลายของข้าพเจ้า ผู้มีฤทธิ์มาก ประกอบด้วยอิทธิคุณ มาประชุม พร้อมกันแล้ว ปรากฏไปในที่ไกล ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส ขอไหว้พระ- คุณเจ้าทั้งหลาย ผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์ในชีวโลกนี้. [๒๔๕๑] กลิ่นแห่งฤาษีทั้งหลายผู้บวชมานาน ย่อมออกจากกายฟุ้งไปตามลมได้ ดูกรท้าวสหัสสเนตร เชิญมหาบพิตรถอยไปเสียจากที่นี่ ดูกรท้าวเทวราช กลิ่นของฤาษีทั้งหลายไม่สะอาด. [๒๔๕๒] กลิ่นแห่งฤาษีทั้งหลายผู้บวชมานาน จงออกจากกายฟุ้งไปตามลมเถิด ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายย่อมมุ่งหวังกลิ่นนั้น ดังพวง บุปผาชาติอันวิจิตรมีกลิ่นหอม เพราะว่าเทวดาทั้งหลายมิได้มีความสำคัญ ในกลิ่นนี้ ว่าเป็นปฏิกูล. [๒๔๕๓] ท้าวมัฆวานสุชัมบดีเทวราช องค์ปุรินททะ ผู้เป็นใหญ่แห่งภูต มีพระ ยศ เป็นจอมแห่งทวยเทพ ทรงย่ำยีหมู่อสูร ทรงรอคอยโอกาส เพื่อ ตรัสถามปัญหา. บรรดาฤาษีผู้เป็นบัณฑิตเหล่านี้ ณ ที่นี้ ใครเล่าหนอ ถูกถามแล้วจักพยากรณ์ปัญหาอันสุขุม ของพระราชา ๓ พระองค์ผู้เป็น ใหญ่ในหมู่มนุษย์ และของท้าววาสวะผู้เป็นจอมแห่งทวยเทพได้? [๒๔๕๔] ท่านสรภังคฤาษีผู้เรืองตบะนี้ เว้นจากเมถุนธรรมตั้งแต่เกิดมา เป็นบุตร ของปุโรหิตาจารย์ ได้รับฝึกฝนมาเป็นอย่างดี ท่านจักพยากรณ์ปัญหา ของพระราชาเหล่านั้นได้. [๒๔๕๕] ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดพยากรณ์ปัญหา ฤาษีทั้งหลายผู้ยัง ประโยชน์ให้สำเร็จ พากันขอร้องท่าน ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ภาระนี้ ย่อมมาถึงท่านผู้เจริญด้วยปัญญา นี่เป็นธรรมดาในหมู่มนุษย์. [๒๔๕๖] มหาบพิตรผู้เจริญทั้งหลาย อาตมภาพให้โอกาสแล้ว เชิญตรัสถามปัญหา อย่างใดอย่างหนึ่ง ตามพระหฤทัยปรารถนาเถิด ก็อาตมภาพรู้โลกนี้และ โลกหน้าเองแล้ว จักพยากรณ์ปัญหานั้นๆ แก่มหาบพิตรทั้งหลาย. [๒๔๕๗] ลำดับนั้น ท้าวมัฆวานสักกเทวราชปุรินททะ ทรงเห็นประโยชน์ ได้ ตรัสตามปัญหาอันเป็นปฐม ดังที่พระทัยปรารถนาว่า บุคคลฆ่าซึ่งอะไรสิ จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละ อะไรบุคคลพึงอดทนคำหยาบที่ใครๆ ในโลกนี้กล่าวแล้ว ข้าแต่ท่าน โกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด? [๒๔๕๘] บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงจะไม่เศร้าโศกในกาลไหนๆ ฤาษีทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการละความลบหลู่ บุคคลควรอดทนคำหยาบที่ชนทั้งปวง กล่าว สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความอดทนนี้ว่าสูงสุด. [๒๔๕๙] บุคคลอาจจะอดทนถ้อยคำของคนทั้ง ๒ พวกได้ คือ คนที่เสมอกัน ๑ คนที่ประเสริฐกว่าตน ๑ จะอดทนถ้อยคำของคนเลวกว่าได้อย่างไรหนอ ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านได้โปรดบอกความข้อนี้แก่โยมเถิด? [๒๔๖๐] บุคคลพึงอดทนถ้อยคำของคนผู้ประเสริฐกว่าได้ เพราะความกลัว พึงอด ทนถ้อยคำของคนที่เสมอกันได้ เพราะการแข่งขันเป็นเหตุ ส่วนผู้ใดใน โลกนี้ พึงอดทนถ้อยคำของคนที่เลวกว่าได้ สัตบุรุษทั้งหลายกล่าวความ อดทนของผู้นั้นว่าสูงสุด. [๒๔๖๑] ไฉนจึงจะรู้จักคนประเสริฐกว่า คนที่เสมอกัน หรือคนที่เลวกว่า ซึ่งมี สภาพอันอิริยาบถทั้ง ๔ ปกปิดไว้ เพราะว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเที่ยว ไปด้วยสภาพของคนชั่วได้ เพราะเหตุนั้นแล จึงควรอดทนถ้อยคำของคน ทั้งปวง. [๒๔๖๒] สัตบุรุษผู้มีความอดทน พึงได้ผลคือความไม่มีการกระทบกระทั่ง เพราะ การสงบระงับเวร เสนาแม้มากพร้อมด้วยพระราชาเมื่อรบอยู่ จะพึงได้ ผลนั้นก็หามิได้ เวรทั้งหลายย่อมระงับด้วยกำลังแห่งขันติ. [๒๔๖๓] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน แต่จะขอถามปัญหาอื่นๆ กะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น โดยมีพระราชา ๔ พระองค์ คือ พระเจ้า ทัณฑกี ๑ พระเจ้านาลิกีระ ๑ พระเจ้าอัชชุนะ ๑ พระเจ้ากลาพุ ๑ ขอ ท่านได้โปรดบอกคติของพระราชาเหล่านั้น ผู้มีบาปกรรมอันหนัก พระ- ราชาทั้ง ๔ องค์นั้นเบียดเบียนฤาษีทั้งหลาย พากันบังเกิด ณ ที่ไหน? [๒๔๖๔] พระเจ้าทัณฑกี ได้เรี่ยรายโทษลง ณ ท่านกีสวัจฉดาบสแล้ว เป็นผู้มีมูล อันขาดแล้ว พร้อมทั้งบริษัท พร้อมทั้งชาวแว่นแคว้น หมกไหม้อยู่ใน นรกชื่อกุกกูละ ถ่านเพลิงปราศจากเปลว ย่อมตกลงบนพระกายของ พระราชานั้น. พระเจ้านาลิกีระได้เบียดเบียนบรรพชิตทั้งหลายผู้สำรวม แล้ว ผู้กล่าวธรรมสงบระงับ ไม่ประทุษร้ายใคร สุนัขทั้งหลายในโลก หน้า ย่อมรุมกันกัดกินพระเจ้านาลิกีระนั้นผู้ดิ้นรนอยู่. อนึ่ง พระเจ้า อัชชุนะ พระเศียรปักพระบาทขึ้น ตกลงในสัตติสูลนรก เพราะเบียด เบียน อังคีรสฤาษีผู้โคดม ผู้มีขันติ มีตบะ ประพฤติพรหมจรรย์มานาน. พระเจ้ากลาพุได้ทรงเชือดเฉือนฤาษีชื่อขันติวาที ผู้สงบระงับ ไม่ประทุษ ร้ายให้เป็นท่อนๆ พระเจ้ากลาพุนั้น ได้บังเกิดหมกไหม้อยู่ในอเวจีนรก อันร้อนใหญ่ มีเวทนากล้า น่ากลัว. บัณฑิตได้ฟังนรกเหล่านี้ และนรก เหล่าอื่นอันชั่วช้ากว่านี้ในที่นี้แล้ว ควรประพฤติธรรมในสมณพราหมณ์ ทั้งหลาย ผู้กระทำอย่างนี้ ย่อมเข้าถึงแดนสวรรค์. [๒๔๖๕] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บัณฑิตเรียกคนเช่นไรว่ามีศีล เรียกคนเช่นไร ว่ามีปัญญา เรียกคนเช่นไรว่าสัตบุรุษ ศิริย่อมไม่ละคนเช่นไรหนอ? [๒๔๖๖] ผู้ใดในโลกนี้ เป็นผู้สำรวมด้วยกาย วาจาและใจ ไม่ทำบาปกรรมอะไรๆ ไม่พูดพล่อยๆ เพราะเหตุแห่งตน บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามีศีล. ผู้ใด คิดปัญหาอันลึกซึ้งได้ด้วยใจ ไม่ทำกรรมอันหยาบช้าอันหาประโยชน์มิได้ ไม่ละทิ้งทางแห่งประโยชน์อันมาถึงตามกาล บัณฑิตเรียกคนเช่นนั้นว่ามี ปัญญา. ผู้ใดแล เป็นคนกตัญญูกตเวที มีปัญญา มีกัลยาณมิตร และมี ความภักดีมั่นคง ช่วยทำกิจของมิตรผู้ตกยากโดยเต็มใจ บัณฑิตเรียก คนเช่นนั้นว่าสัตบุรุษ. ผู้ใดประกอบด้วยคุณธรรมทั้งปวงเหล่านี้ คือ เป็นผู้มีศรัทธา อ่อนโยน แจกทานด้วยดี รู้ความประสงค์ ศิริย่อมไม่ ละคนเช่นนั้น ผู้สงเคราะห์ มีวาจาอ่อนหวาน สละสลวย. [๒๔๖๗] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอ เชิญท่านกล่าวปัญหานั้น นักปราชญ์ย่อมกล่าวศีล ศิริ ธรรม ของสัตบุรุษ และปัญญา ว่าข้อไหนประเสริฐกว่ากัน? [๒๔๖๘] ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายย่อมกล่าวว่า ปัญญานั่นแหละประเสริฐสุด ดุจ พระจันทร์ประเสริฐกว่าดวงดาวทั้งหลาย ฉะนั้น ศีล ศิริ และธรรมของ สัตบุรุษ ย่อมเป็นไปตามบุคคลผู้มีปัญญา. [๒๔๖๙] กระผมขออนุโมทนาคำสุภาษิตของท่าน ขอถามปัญหาข้ออื่นกะท่าน ขอเชิญท่านกล่าวปัญหานั้น บุคคลในโลกนี้ทำอย่างไร ทำด้วยอุบาย อย่างไร ประพฤติอะไร เสพอะไร จึงจะได้ปัญญา ขอท่านได้โปรดบอก ปฏิปทาแห่งปัญญา ณ บัดนี้ว่า นรชนทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้มีปัญญา? [๒๔๗๐] บุคคลควรคบหาท่านผู้รู้ทั้งหลาย ละเอียดละออ เป็นพหูสูต พึงเป็นทั้ง นักเรียน และไต่ถาม พึงตั้งใจฟังคำสุภาษิตโดยเคารพ นรชนทำอย่าง นี้จึงจะเป็นผู้มีปัญญา. ผู้มีปัญญานั้นย่อมพิจารณาเห็นกามคุณทั้งหลาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นโรค ผู้เห็นแจ้งอย่างนี้ ย่อมละความพอใจในกามทั้งหลายอันเป็นทุกข์ มีภัยอันใหญ่หลวงเสียได้. ผู้นั้นปราศจากราคะแล้ว กำจัดโทสะได้ พึงเจริญเมตตาจิตไม่มีประมาณ งดอาชญาในสัตว์ทุกจำพวกแล้ว ไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงแดนพรหม. [๒๔๗๑] การมาของมหาบพิตรผู้มีพระนามว่า อัฏฐกะ ภีมรถะ และกาลิงคราช ผู้มีพระเดชานุภาพฟุ้งเฟื่องไป เป็นการมาที่มีฤทธิ์ใหญ่โต ทุกๆ พระ องค์ทรงละกามราคะได้แล้ว. [๒๔๗๒] ท่านเป็นผู้รู้จิตผู้อื่น ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น กระผมทุกคนละกามราคะได้ แล้ว ขอท่านจงให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ตามที่กระผมทั้งหลายจะรู้ ถึงคติของท่านได้. [๒๔๗๓] อาตมาให้โอกาสเพื่อความอนุเคราะห์ เพราะมหาบพิตรทั้งหลาย ละกาม ราคะได้อย่างนั้นแล้ว จงยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอันไพบูลย์ ตามที่ มหาบพิตรทั้งหลายจะทรงทราบถึงคติของอาตมา. [๒๔๗๔] ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน กระผมทั้งหลายจักทำตามคำสั่งสอนที่ ท่านกล่าวทุกอย่าง กระผมทั้งหลายจะยังกายให้ซาบซ่านด้วยปีติอัน ไพบูลย์ ตามที่กระผมทั้งหลายจะรู้ถึงคติของท่าน. [๒๔๗๕] ดูกรท่านผู้เจริญทั้งหลาย ฤาษีทั้งหลายผู้มีคุณความดี ทำการบูชานี้แก่ กีสวัจฉดาบสแล้ว จงพากันไปยังที่อยู่ของตนๆ เถิด ท่านทั้งหลายจง เป็นผู้ยินดีในฌาน มีจิตตั้งมั่นทุกเมื่อเถิด ความยินดีนี้ เป็นคุณชาติ ประเสริฐสุดของบรรพชิต. [๒๔๗๖] ชนเหล่านั้นได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยประโยชน์อย่างยิ่ง ที่ฤาษีผู้เป็น บัณฑิตกล่าวดีแล้ว เกิดปีติโสมนัส พากันอนุโมทนาอยู่ เทวดา ทั้งหลายผู้มียศ ต่างก็พากันกลับไปสู่เทพบุรี. คาถาเหล่านี้มีอรรถ พยัญชนะดี อันฤาษีผู้เป็นบัณฑิตกล่าวดีแล้ว คนใดคนหนึ่งฟังคาถา เหล่านี้ให้มีประโยชน์ พึงได้คุณพิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ครั้น แล้วพึงบรรลุถึงสถานที่อันมัจจุราชมองไม่เห็น. [๒๔๗๗] สาลิสสรดาบสในกาลนั้น เป็นพระสารีบุตร เมณฑิสสรดาบสในกาลนั้น เป็นพระกัสสปะ ปัพพตดาบสในกาลนั้นเป็นพระอนุรุทธะ เทวิลดาบส ในกาลนั้น เป็นพระกัจจายนะ อนุสิสสดาบสในกาลนั้นเป็นพระอานนท์ กีสวัจฉดาบสในกาลนั้น เป็นโกลิตมหาโมคคัลลานะ นารทดาบสใน กาลนั้น เป็นพระอุทายีเถระ บริษัทในกาลนั้น เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ สรภังคดาบสโพธิสัตว์ในกาลนั้น คือตถาคต ท่านทั้งหลายจงทรงจำชาดก ไว้อย่างนี้แล.
จบ สรภังคชาดกที่ ๒.


ธรรมบทข้างบน

ศีล 5 ย่อมรักษาโลกนี้ไว้

ความโกรธ  ไม่ยังให้ผลดีเกิดขึ้นเลย   โทจตุกะ4  โทสะ(โกรธ)  อิสสา(อิฉา)  มัฉริย(ตระหนี)  กุก(รำคาญใจเวลาทำชั่วสำเร็จแล้ว)

การสดับรับฟัง ผู้รู้ย่อมนำมาซื้งปัญญา สั่งสมกันไว้

กามราคะ คือยอด ของนิวรณ์ 5    อันขวางปุถุชน กับ ดาบสผู้มีฤษธฺิ์

การข่มนิวรณ์ 5  หรือเจริญสมถะ

ใช้ในอารมณ์ 40   ส่วนมาเป็นบัญญติ ข่มไว้
         บริกรรมนิมิต
วิตก       --->   ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์      --->  สะกดข่ม  ข้อที่3 -- ถีนะ (หดหู่)-- มิทธะ(ง่วงนอน)
วิจาร์      --->  เคล้าหลึงในอารมณ์ (ประคองไว้)    --->   ข้อที่5  ลังเสลสงสัย ไปทุกสิ่งทุกอย่าง
         นิมิตรเกิด  อุปจาระ
ปิติ         --->
สุข          --->
เอกคตา    --->




นิวรณ์ 5 (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง — hindrances.)
       1. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ — sensual desire)
       2. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ — illwill)
       3. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม — sloth and torpor)
       4. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล — distraction and remorse; flurry and worry; anxiety)
       5. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย — doubt; uncertainty)


ภาวนา 3 (การเจริญ หมายถึงการเจริญกรรมฐานหรือฝึกสมาธิขั้นต่างๆ — stages of mental culture)
       1. บริกรรมภาวนา (ภาวนาขั้นบริกรรม, ฝึกสมาธิขั้นตระเตรียม ได้แก่ การถือเอานิมิตในสิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น เพ่งดวงกสิณ หรือนึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจเป็นต้น กล่าวสั้นๆ คือ การกำหนดบริกรรมนิมิตนั่นเอง — preliminary stage) ได้ในกรรมฐานทั้ง 40
       2. อุปจารภาวนา (ภาวนาขั้นจวนเจียน, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอุปจาร ได้แก่ เจริญกรรมฐานต่อไป ถึงขณะที่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นในกรรมฐานที่เพ่งวัตถุก็ดี นิวรณ์สงบไปในกรรมฐานประเภทนึกเป็นอารมณ์ก็ดี นับแต่ขณะนั้นไปจัดเป็นอุปจารภาวนา — proximate stage) ขั้นนี้เป็น กามาวจรสมาธิ ได้ในกรรมฐานทั้ง 40; อุปาจารภาวนา สิ้นสุดแค่โคตรภูขณะ ในฌานชวนะ
       3. อัปปนาภาวนา (ภาวนาขั้นแน่วแน่, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอัปปนา ได้แก่ เสพปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ จนบรรลุปฐมฌาน คือ ถัดจากโคตรภูขณะในฌานชวนะเป็นต้นไป ต่อแต่นั้นเป็นอัปปนาภาวนา - concentrative or attainment stage) ขั้นนี้เป็นรูปาวจรสมาธิ ได้เฉพาะในกรรมฐาน 30 คือ หักอนุสสติ 8 ข้างต้น ปฏิกูลสัญญา 1 และจตุธาตุวัตถาน 1 ออกเสีย คงเหลือ อสุภะ 10 และกายคตาสติ 1 (ได้ถึงปฐมฌาน) อัปปมัญญา 3 ข้อต้น (ได้ถึงจตุตถฌาน) อัปปมัญญาข้อท้ายคืออุเบกขา 1 กสิณ 10 และ อานาปานสติ 1 (ได้ถึงปัญจมฌาน) อรูป 4 (ได้อรูปฌาน)



ห้องภาพ
ทางไปสวรรค์ : https://buddhaf-sati4.blogspot.com/2019/04/blog-post_21.html
สมถะ 40 : https://buddhaf-sati4.blogspot.com/2019/04/blog-post_22.html

วิปัสสนา :  https://buddhaf-sati4.blogspot.com/2019/05/blog-post_26.html?m=1













วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

วิปัสสนาจารย์ ต้องอ่าน

ยอดคำสอนของ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

สิ่งปราถนาอยู่ยอดสุด คือ นิพาน

อนาคามี

สกิทาคามี

โสดาบัน

เทวดา สัมมทิฐิ

มนุษย์สัมมาทิฐิ


วิปัสสนา เป็นสาระ ของศาสนา

กล่าว ถึง การเบื่อหน่ายรูป และนาม   อยากพ้นจากำเนิดต่างๆๆ เพราะเห็นภัยในนรกทุกคนตกได้ พระโพธิสัตว์ได้รับพยาการณ์ก็ตกได้

สมาทานศีล

พิจารณา รูป ยืน เดิน นั่ง นอน     ตรงปัจจุบันอารมณ์ ที่สุด

ถ้าพิจารณา อานาปานสติ ดี ตรงปิติ แรง รู้สึกสุขสบาย  ก็สลับเปลี่ยน อริยาบท   อานาปานสติ  ดูจติบ้าง  พิจารณาอาการ32   อริยาบทย่อย ละเอียดล้ำลึกอีกขั้น

เมื่อชำนาญ  ตามดู จิต โลภะ โทสะ  ส่วนมากก็ จะเป็นโลภะ 8  ตามดูเนื่องๆๆ  ตามหัวข้อ จติตานุปัสสนา

เมื่อยกระดับขึ้น ของยากสุด ขันธ์5 นิวรณ์5  จิตนำ  เจตสิกเยอะซับซ้อน     อายตนะ12 ผัสสะ รูป  --วิญญาณ









วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

8 อาชา(2)


ก่อนหน้านี้กล่าว ยก  สมุทัยสัจจ   เหตุแห่งการเกิด

8 อาชา (โลภะ8 )  อันเป็นกำลังของความอยาก อย่างยิ่ง นำเราไปโดยแท้จริง

แต่ อาชา ที่ลาก รถของเราได้ไม่ได้มีแค่นั้น

ในข้อที่ 3.อธิปติปัจจัย ในปัจจัย 24 
>>>   ดาว์นโหลด...  คู่มือมัชฌิมโท_ปัฏฐาน_อ.อาณัติชัย  6MB <<<

อารมณ์ที่มีกำลังมาก


8 8 4 8

8โลภะ      

8มหากุศล     
4มหากริยา  สัม(ประกอบปัญญา) 

8โลกุตร





>>>   ดาว์นโหลด...  คู่มือมัชฌิมโท_ปัฏฐาน_อ.อาณัติชัย  6MB <<<
ประกอบการอ่านตารางข้างล่าง  จะง่ายขึ้น



8 อาชา

ภพน้อยภพใหญ่ภพใหม่ เราเกิดบ่อยๆๆๆ

เพราะนายช่างทำเรือน เรายังหากันไม่เจอ

สมุทัย ทำให้เราสร้างเหตุ ไม่หยุดหย่อน

โลภะ8  ม้า8 ตัวนี้ลากเราไปภพน้อยภพใหญ่

นิสัยชอบสิ่งสวยงาม ทำให้อารมณ์ เพลิดเพลิน ชอบเพศตรงข้าม

เจตนา  เรียกว่า ตัวกรรม
เจตานา ชักชวน สัมปปยุต ในอารมณ์ กระทำหน้าที่ตน

มนสิการ  นำสัมปปยุต(ประกอบ) ธ ขึ้นสู่.อารมณ์

เจ็ดเทพ ที่ปกปักกรักษาอารมณ์ (สัพพเจตสิกสาธรณ7)เกิดกับจิตทุกดวง

8 อาชาลาก รถม้าแห่งวิญญาณ มีเทพทั้งเจ็ดรักษา ตลอดวิถี

ผัสส  เว  สัญ   เจตนา  เอกคตา  ชีวิต  มนสิการ


สติปัฎฐาน4  กาย เวทนา จิต ธรรม
(ขันธ์5   นิวรณ์ 5  อายตนะ 12   โพชฌงค์7   อริยสัจจ4)

สงเคราะห์แบบ ขันธ์ 5 + (เจตสิก7สาธารณะ)

ผัสสะ    ทวาร(รูป) + วิญญาณ

เว   .....เวทนา

สัญ  .....สัญญา    เรียกว่า ทำเครื่องหมายสิ่งใดก็จำสิ่งนั้นได้

สังขาร.....ที่เหลือ  เจต  เอก  ชีวิต  มนสิ


โลภะ8  จิต ประกอบด้วย อารมณ์ ที่เราชอบ พึงพอใจ ชอบใจ

8 อาชา  จึงทะยานไปดังใจเราต้องการ ฉันนั้น


》》》》》》《《《《《《《

กาลนี้ อาชาทั้ง 8 เป็นอาชาสวรรค์  พาผู้คนไปสวรรรค์ ในยาม ศาสนาตั้ง อยู่ (มหากุศล 8 อาชาสวรรค์)

สภาพ 8 อาชา ปกติ ที่ยังไม่โดนโลภะ ยึดอารมณ์  (เฉยๆๆ)



8 อาชา สวรรค์



วันอังคารที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เตรียมตัวฟังธรรมะ ครั้งสุดทาย ของศาสนานี้

>>> อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอกธัมมาทิบาลี  วรรคที่ ๑ <<<
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=99


บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น 
                         กิเลสปรินิพพาน ได้มีที่โพธิบัลลังก์. 
                         ขันธปรินิพพาน ได้มีที่กรุงกุสินารา. 
                         ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต. 
               จักมีอย่างไร? 
               คือ ครั้งนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะและสัมมานะในที่นั้นๆ ก็ไปสู่ที่ๆ มีสักการะและสัมมานะด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อกาลล่วงไปๆ สักการะและสัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง. เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์ จากมหาเจดีย์ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์. พระธาตุทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดจักไม่หายไปในระหว่าง. 
               พระธาตุทั้งหมดจักประชุมกันที่มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว รวมเป็นพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถานมหาปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่งทั้งหมดครบบริบูรณ์ทีเดียว. 
               แต่นั้นจักกระทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดงยมกปาฏิหาริย์. ในกาลนั้น ชื่อว่าสัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ไม่มีไปในที่นั้น. 
               ก็เทวดาในหมื่นจักรวาฬประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพันว่า วันนี้พระทสพลจะปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด. 
               ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ ทำให้พระสรีระนั้นถึงความหาบัญญัติมิได้. เปลวไฟที่โพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่งขึ้นจนถึงพรหมโลก เมื่อพระธาตุแม้สักเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังมีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงอยู่เปลวหนึ่งเท่านั้น เมื่อพระธาตุหมดสิ้นไป เปลวเพลิงก็จักขาดหายไป. 
               พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป. 


เมื่อเป็นดังนั้น รีบรักษาศีล 5  ศีล 8  ศีล 10  หรือ ศีล227 (ของภิกษุ)   

ให้ทาน ก็ไปบังเกิดได้เช่น กัน  >>> ทาน จำแนกสวรรค์ ทั้ง 6 <<<

ไปบังเกิดในเทวโลก  อีก ไม่มาก ไม่น้อย 2500 ปี 


.................................................................
สนังกุมารสูตรที่ ๑
พระอินทร์มีพระชายาที่เป็นใหญ่ ๔ องค์ คือ พระนางสุชาดา พระนางสุธรรมา พระนางสุจิตรา และพระนางสุนันทา

บนดาวดึงส์  มีเทวศาลา ชื่อ สุธรรมา       เป็นที่แสดงธรรม ทุกวันอุโบสถ

ศาลาฟังธรรมนี้ก็อยู่บนสวรรค์ ชั้นที่ 2

สนังกุมารพรหม   มาจากพรหมอนาคามีชั้น อกนิฎฐา    นิพานในชั้นนี้


จะว่าไป  แล้ว หลังสิ้นศาสนา นี้แล้ว  ยังพอมีเวลาอีก 31,500 มหากัปป์ 

พรหมอนาคามีชั้น  อวิหา  -->  อตัปปา  -->   สุทัสสา  -->   สุทัสสี   -->   อกนิฎฐา   -->    นิพานชั้นนี้
                        ครบอายุจะไปเกิดภพที่สุงขึ้น


แต่อัธยาใส ของสัตว์ คงไม่อาจฟังพระสัทธรรม เข้าใจแล้วในการเบื้องหน้า





วันจันทร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

วิปาก สาระภพน้อยใหญ่

เมื่อรู้ ย่อมว่างแผน ไปได้โดยง่าย

วิปาก เรียกว่า ผล อันเหตุอันเราทำไว้ดีแล้ว 

ผล จะตามสนอง แน่น เช่นต้นไม้ ยังไม่ออกดอกออกผล เราก็ไม่รู้ได้ว่าจะออกตรงไหน

เมื่อถืงการเวลาก็จะออกมาเอง ฉันนั้น

วิปาก ในอภิธรรม  เป็นผลกระทบ ของชวน การเสวยอารมณ์



สังเกต   





สรุป คือ

อกุศล  สร้างได้
กุศล ก็สร้างได้
รูป และ อรูป ก็สร้างได้
โลกุตระ โสดาบัน-อนาคามี ก็สร้างได้

.................................................................

>>> คู่มือ ภพภูมิ และแดนเกิดต่างๆๆ <<<
http://www.ccdkm.org/watburanasiri/wp-content/uploads/2018/01/ปริจเฉทที่-๕-วิถีมุตตสังคหะวิภาคและบทวิเคราะห์.pdf


หน้า 14      สรุปทั้ง 31 ภูมิ

หน้า 18      อายุสัตว์แต่ละ ภพภูมิ

หน้า 22      กรรม และการทำหน้าที่

>>> กรรมทีปนี้ อ่านเพิ่มเติม  <<<

หน้า 31      ครบองค์ 5 การฆ่าสัตว์สำเร็จเป็นอกุศลกรรม

หน้า 34      ประกอบกุศล       1.ทายก(ผู้ให้)   2.ปฎิคาหก(ผู้รับ)    3. ของที่่จะให้(ได้มาด้วยความบริสุทธิ์)

หน้า 45      ผลกรรมและวิปาก ที่ปรากในชาติ นี้ มีผล ย่อมมีเหตุเสมอ

ศีลพระ 227 ปุถุชน ศีล5

บ้านเรา มี 2 นิกาย   พระบ้าน กับพระป่า    แต่มีศีล เท่ากัน 227

คู่มืออ้างอิง วินัยมุกข์ ทั้ง 3 เล่ม

ฤาษี ก่อนพุทธกาล ถือ ศีล ไม่พูดปด ข้อเดียว ก็บรรลุฌาณ เป็นอันมากๆ     
        ส่วนการฆ่าสัตว์เป็นการเบียดเบียนอยู่แล้ว

ศีล 5
1. เว้นฆ่าสัตว์  (ข้อ3)
2. เว้นลักทรัพย์ (ข้อ2)
3. เว้นประพฤษผิดในกาม(เมียผู้อื่น)
4. เว้นพูดปด (ข้อ50)
5. เว้นดื่มสุรา (ข้อที่100)

》》》 ศีลพาไปสวรรค์อย่างไร 《《《



ไม่ละเมิด ข้อ  1-4  ก็ไม่ขาดความเป็นพระ     ปฎิญาณเป็นภิกษุได้

ข้ออื่น  เป็นไปเพื่อไถ่ถอนกิเลส ทางกายวาจาทางใจ 

>>> พุทธประวัติ  <<<

ศีล 227 ของพระสงฆ์

ศีล 227 ข้อของพระสงฆ์
      กฎหมายและขนบธรรมเนียมของภิกษุเรียกว่า พระวินัย เป็นคู่กับพระธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติทางใจ รวมทั้ง 2 อย่างเรียกว่าพระศาสนา หรือเรียกโดยย่อว่า พระธรรมวินัย
      พระวินัยบัญญัติว่าด้วยศีลของพระภิกษุ 227 ข้อ ประกอบด้วย ปาราชิก 4  สังฆาทเสส 13  อนิยต 2  นิสสัคคิยปาจิตตีย์  30  ปาจิตตีย์  92  ปาฏิเทสนียะ  4  เสขิยวัตร  75  อธิกรณสมถะ  7
- - - - - - - - - - - - - - -

ปาราชิก 4
   1. ห้ามภิกษุเสพเมถุนกับมนุษย์ อมุนษย์(เช่นสัตว์ดิรัจฉาน เปรต เป็นต้นไม่ว่าตายหรือยังมี ชีวิต อยู่ หรือแม้แต่ศพเมื่อมีจิตรับจะทำเมถุนกับสิ่งนั้น
   2.ห้ามลักทรัพย์ ตั้งแต่ 5 มาสก (หรือประมาณ 1 บาทใน สมัยนี้)ขึ้นไป ถ้าลักทรัพย์ต่ำกว่าเป็นอาบัติข้ออื่น โดยมีจิตคิดจะเอาและได้ทรัพย์นั้นแล้ว
   3. ห้ามฆ่ามนุษย์และทำแท้งกับหญิงที่มีครรภ์ ( มีเจตนากระทำให้มนุษย์ตายหรือเด็กในครรภ์ตาย)
   4. ห้ามอวดอุตตริมนุษสธรรม คือไม่มีฌานก็ว่ามี ไม่มี ฌานก็ว่ามี ไม่ได้มรรคไม่ได้ผล ก็อ้างว่ามี ( ถ้ามีอยู่หรือถึงแล้วแสดงเพื่อประโยชน์ ก็ต้องห้ามเป็นอาบัติปาจิตตีย์ ผลของการอาบัติปาราชิก ปรับอาบัติไม่ได้ ถือขาดจากการครองสมณเพศไม่จำต้องบอกกล่าวหรือแจ้งแก่ผู้กระทำ เป็นเหตุปิดการทำมรรคผลนิพพานในชาตินี้
ถ้าครองสมณเพศอยู่ถือว่าเป็นโจรปล้นพระศาสนาทำลายตนเองให้ถึงทุคติมีอบายภูมิเป็นที่เกิดอย่างแน่นอน เปรียบเสมือนต้นตาลที่ยอดด้วนย่อมไม่เกิดผลได้ )
สังฆาทิเสส 13
   5. ห้ามทำน้ำอสุจิ ให้เคลื่อนด้วยความจงใจ (ยกเว้นฝัน)
   6 . ห้ามถูกต้องเคล้าคลึงกายหญิงด้วยความจงใจ
   7 . ห้ามพูดสอนความ พูดพาดพิงถึงทวารหนักทวารเบาแก่สตรี
   8. ห้ามพูดล่อหญิงให้บำเรอตนด้วยเมถุนธรรม
   9. ห้ามเป็นพ่อสื่อให้คนแต่งงานกัน
   10.ภิกษุขอให้สร้างกุฎิแก่ตนต้องมีขนาดกว้าง 7 คืบยาว 12 คืบด้วยคืบของพระพุทธเจ้า
   11.ห้ามสร้างวิหารใหญ่โดยสงฆ์มิได้กำหนดที่
   12.ห้ามโจทอาบัติปาราชิกไม่มีมูล
   13.ห้ามอ้างเลสโจทอาบัติปาราชิก
   14.ทำสังฆ์ให้แตกกัน(สงฆเภท)
   15.ห้ามเป็นพรรคพวกของผู้ทำสงฆ์ให้แตกกัน
   16.ห้ามเป็นคนว่ายากสอนยาก
   17.ห้ามเป็นผู้มีความประพฤติเลวทรามและประจบ คฤหัสถ์อนิยตะ
อนิยต 2
   18. ห้ามนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง(อาบัติ ปาราชิก, สงฆาทิเสส,หรือปาจิตตีย์ )
   19 ห้ามนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง (อาบัติ สังฆาทิเสส , หรือปาจิตตีย์นิสสัคคีย์
นิสสัคคิยปาจิตตีย์ 30
   20. ห้ามเก็บจีวรเกินจำเป็นไว้เกิน 10 วัน (ยกเว้นทำเป็น สองเจ้าของ)
   21.ห้ามอยู่ปราศจากไตรจีวร แม้คืนหนึ่ง(ยกเว้น ภิกษุ(ได้รับสมมติ)
   22.ห้ามเก็บผ้าที่จะทำจีวรไว้เกิน 1 เดือน(ยกเว้นทำเป็นสองเจ้าของ)
   23.ห้ามใช้นางภิกษุณีชักจีวรเก่า(จีวรที่ใช้แล้ว)
   24.ห้ามรับจีวรจากมือของภิกษุณี
   25.ห้ามขอจีวรต่อคฤหัสถ์ที่มิใช่ญาติ(ยกเว้นขอต่อคนปวารณา)
   26.ห้ามรับจีวรเกินกำหนดเมื่อจีวรถูกชิงหรือ หายไป
   27.ห้ามพูดให้เขาซื้อจีวรที่ดีกว่าเขากำหนดไว้เดิมถวาย
   28.ห้ามไปพูดให้เขารวมกันซื้อจีวรที่ดีถวาย
   29.ห้ามทวงจีวรเอาแก่คนที่รับฝากผู้อื่นเพื่อซื้อ จีวรถวายเกินกว่า 3 ครั้ง
   30.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งพรมเจือด้วยไหม
   31.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งด้วยขนเจียม(ขนสัตว์) ดำล้วน
   32.ห้ามใช้ขนเจียมดำเกิน 2 ส่วนใน 4 ส่วนเมื่อหล่อเครื่องปูนั่ง
   33.ห้ามหล่อเครื่องปูนั่งให้ตัดของเก่าปนลงใน ของใหม่
   34.ห้ามการทำเครื่องปูนั่งให้ตัดของเก่าปนลงในของใหม่
   35.ห้ามนำขนเจียมไปด้วยตนเองเกิน 3 โยชน์
   36.ห้ามใช้นางภิกษุณีที่ไม่ใช่ญาติทำการซักย้อมซึ่งขนเจียม
   37.ห้ามรับทองเงิน( ชาตะ รูปรชตะ)
   38.ห้ามทำการซื้อขายของด้วยเงินทอง
   39.ห้ามซื้อขายโดยใช้ของแลก
   40.ห้ามเก็บบาตรเกิน 1 ลูกไว้เกิน 30 วัน
   41.ห้ามขอบาตรเมื่อบาตรเป็นแผลงไม่เกิน 5 แห่ง
   42.ห้ามเก็บเภสัช 5 (เนยใส, เนยข้น,น้ำมัน, น้ำผึ้ง ,น้ำอ้อย) เกิน 7 วัน
   43.ห้ามแสวงและทำผ้าอาบน้ำฝนเกินกำหนด
   44.ให้จีวรภิกษุอื่นแล้วห้ามชิงคืนในภายหลัง
   45.ห้ามขอด้ายเอามาทอเป็นจีวร
   46.ห้ามไปกำหนดให้ช่างหูกทอจีวรให้ดีขึ้นเพื่อตน (ยกเว้นขอต่อคนปวารณา)
   47.ห้ามเก็บผ้าจำนำพรรษาไว้เกินกำหนด
   48.ห้ามภิกษุอยู่ป่าเก็บจีวรไว้ในบ้านเกิน 6 คืน (ยกเว้นภิกษุได้รับสมมุติ)
   49.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อตน
ปาจิตตีย์ 92
   50.ห้ามพูดปด (มุสาวาท)
   51.ห้ามด่า (ผรุสวาท)
   52.ห้ามพูดส่อเสียด (ปิสุณาวาท)
   53.ห้ามกล่าวธรรมพร้อมกับอนุปสัมบัน (ผู้ไม่ใช่ภิกษุ เช่นภิกษุณีสามเณรเป็นต้น ในขณะสอน)
   54.ห้ามนอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน 3 คืน
   55.ห้ามนอนร่วมกับหญิง
   56. ห้ามแสดงธรรมสองต่อสองกับผู้หญิงเกิน 6 คำ (ยกเว้นเมื่อมีผู้ชายที่รู้เดียงสาอยู่ด้วย)
   57.ห้ามบอกคุณวิเศษที่มีจริงแก่อนุปสัมบัน
   58.ห้ามบอกอาบัติชั่วหยาบของภิกษุแก่อนุปสัมบัน
   59.ห้ามขุดดินหรือใช้ให้ขุด
   60.ห้ามทำลายต้นไม้
   61.ห้ามพูดไฉไลหรือทำให้ยุ่งยากเมื่อถูกสอบสวน
   62.ห้ามติเตียนภิกษุผู้ทำการสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
   63.ห้ามทิ้งเตียงตั่งของสงฆ์ไว้กลางแจ้ง
   64.ห้ามปล่อยที่นอนไว้ไม่เก็บงำ
   65.ห้ามนอนแทรกภิกษุผู้เข้าไปอยู่ก่อนเพื่อทำให้ภิกษุนั้นลุกหนีไป
   66.ห้ามฉุดคร่าภิกษุออกจากวิหารของสงฆ์ เพราะขัดใจ (ยกเว้นภิกษุอลัชชี)
   67.ห้ามนั่งนอนบนเตียงหรือตั่งโดยแรงที่อยู่ชั้นบน ซึ่งมีผู้นอนอยู่ชั้นล่าง (เป็นเตียง 2 ชั้น)
   68.ห้ามโบกฉาบวิหารใหญ่เกิน 3 ชั้น
   69.ห้ามเอาน้ำมีตัวสัตว์รดหญ้าหรือดิน
   70.ห้ามสอนนางภิกษุณีเมื่อมิได้รับมอบหมายจากสงฆ์
   71.ห้ามสอนนางภิกษุณีตั้งแต่อาทิตย์ตกแล้ว
   72.ห้ามสอนนางภิกษุณีถึงที่อยู่
   73.ห้ามติเตียนภิกษุอื่นว่าสอนนางภิกษุณีเพราะเห็นแก่ลาภ
   74.ห้ามให้จีวรแก่นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ แต่ให้แลก เปลี่ยนจีวรกันได้
   75.ห้ามเย็บจีวรให้นางภิกษุณีผู้มิใช่ญาติ
   76.ห้ามเดินทางไกลร่วมกับนางภิกษุณี เว้นไว้แต่หนทาง ที่จะไปมีอันตราย
   77.ห้ามชวนนางภิกษุณีเดินทางเรือร่วมกัน เว้นไว้แต่โดยสารหรือข้ามฟาก
   78.ห้ามฉันอาหารที่นางภิกษุณีไปแนะให้เขาถวาย
   79.ห้ามนั่ง นอนในที่ลับสองต่อสองกับนางภิกษุณี
   80.ห้ามฉันอาหารในที่ทานเกิน 1 มื้อ (ยกเว้นแต่ป่วย)
   81.ห้ามขออาหารชาวบ้านเพื่อมาฉันรวมกลุ่มกับพวกของตน
   82.ห้ามนิมนต์แล้วไปฉันอาหารที่อื่น
   83.ห้ามรับบิณฑบาตเกิน 3 บาตร
   84.ห้ามฉันอีกเมื่อฉันในที่นิมนต์เสร็จแล้ว
   85.ห้ามพูดให้ภิกษุที่ฉันอีกเพื่อจับผิด
   86.ห้ามฉันอาหารในเวลาวิกาล (วิกาลโภชนา)
   87.ห้ามฉันอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน
   88.ห้ามขออาหารประณีตมาเพื่อฉันเอง (ยกเว้นขอต่อผู้ปวารณา)
   89.ห้ามฉันอาหารที่มิได้รับประเคน (ยกเว้นน้ำ)
   90.ห้ามยื่นอาหารด้วยมือให้ชีเปลือยและนักบวชอื่น
   91.ห้ามชวนภิกษุไปบิณฑบาตด้วยแล้วไล่กลับ
   92.ห้ามเข้าไปนั่งกีดขวางในห้องนอนของหญิงกับชายที่มีราคะ (เข้าไปขัดจังหวะชายหญิง)
   93.ห้ามนั่งในที่ลับมีที่กำบังกับหญิง
   94.ห้ามนั่งในที่ลับหูสองต่อสองกับหญิง
   95.ห้ามรับนิมนต์แล้วไปที่อื่นไม่บอกลาภิกษุซึ่งมีอยู่
   96.ห้ามขอปัจจัยเภสัชเกินกำหนดชนิดและเวลาที่เขาปวารณาไว้
   97.ห้ามไปดูกองทัพที่ยกออกไป
   98.ห้ามภิกษุมีกิจจำเป็นพักอยู่ในกองทัพเกิน 3 คืน
   99.ห้ามดูเขารบกันเป็นต้นเมื่อมีกิจจำเป็นไปในกองทัพ
   100.ห้ามดื่มสุราเมรัย รวมของมึนเมาต่างๆ
   101.ห้ามจี้ภิกษุให้หัวเราะ
   102.ห้ามว่ายน้ำเล่น
   103.ห้ามแสดงความไม่เอื้อเฟื้อในวินัย ขืนประพฤติอนาจารอยู่
   104.ห้ามหลอกภิกษุให้กลัว(หรือตกใจ)
   105.ห้ามก่อกองไฟเพื่อผิง (ยกเว้นผิงถ่านไฟที่ปราศจากเปลวไฟ )
   106.ห้ามอาบน้ำบ่อย เว้นแต่มีเหตุ
   107.ห้ามทำเครื่องหมายจีวรที่ได้มาใหม่
   108.วิกัปจีวรไว้แล้วจะใช้ถอนก่อน
   109.ห้ามเล่นซ่อนบริขารของภิกษุอื่น
   110.ห้ามแกล้งฆ่าสัตว์ดิรัจฉาน
   111.ห้ามดื่มน้ำมีตัวสัตว์
   112.ห้ามรื้อฟื้นอธิกรณ์ที่ตัดสินเป็นธรรมแล้ว
   113.ห้ามปกปิดอาบัติชั่วหยาบ(อาบัติปาราชิก,อาบัติสังฆาทิเสส)ของภิกษุอื่น
   114.ห้ามบวชบุคคลอายุไม่ถึง 20 ปี
   115.ห้ามเดินทางร่วมกับโจรหรือพ่อค้าผู้หนีภาษี
   116.ห้ามชวนผู้หญิงเดินทางร่วมกัน
   117.ห้ามกล่าวตู่พระธรรมวินัย
   118.ห้ามคบหากินอยู่ร่วมกับภิกษุผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
   119.ห้ามคบหาให้อุปัฏฐากกินอยู่ร่วมกับสามเณรผู้กล่าวตู่พระธรรมวินัย
   120.ห้ามพูดเลี่ยงเพื่อหวังจะไม่ศึกษาในสิกขาบท
   121.ห้ามกล่าวย่ำยีดูแคลนพระวินัย
   122.ห้ามพูดแก้ตัวว่าเพิ่งรู้ว่ามีในปาติโมกข์
   123.ห้ามทำร้ายร่างกายภิกษุ
   124.ห้ามเงื้อมือจะทำร้ายภิกษุ
   125.ห้ามโจทอาบัติสังฆาทิเสสไม่มีมูล
   126.ห้ามก่อความรำคาญแก่ภิกษุอื่น
   127.ห้ามแอบฟังความของภิกษุผู้ทะเลาะกัน
   128.มอบฉันทะให้ทำการแทนแล้วห้ามพูดติเตียน
   129.ในที่ประชุมสงฆ์ตั้งญัตติแล้วกำลังทำการวินิจฉัยห้ามลุกไปโดยไม่ให้ความยินยอมต่อสงฆ์(เว้นไปสุขา)
   130.ร่วมกับสงฆ์ให้จีวรแก่ภิกษุแล้วห้ามติเตียนภายหลัง
   131.ห้ามน้อมลาภสงฆ์มาเพื่อบุคคล
   132.ห้ามเข้าไปในพระราชฐานชั้นในโดยไม่ได้ รับราชานุญาต
   133.ห้ามเก็บของมีค่า(รัตนะ)ที่ตกอยู่(เว้นตกในวัดเก็บไว้คืน)
   134.ห้ามเข้าบ้านยามวิกาลต้องลาภิกษุก่อน (เว้นมีธุระด่วน)
   135.ห้ามทำหล่อมเข็มด้วย กระดูก,งา,เขาสัตว์
   136.ห้ามใช้เตียงตั่งมีเท้าสูงกว่า 8 นิ้ว ด้วยนิ้วสุคต
   137.ห้ามใช้เตียงตั่งหุ้มด้วยนุ่น
   138.ห้ามใช้ผ้าปูนั่งมีขนาดเกินกว่าขนาดยาว 2 คืบกว้าง 1 คืบ ชาย 1 คืบด้วยคืบสุคต
   139.ห้ามใช้ผ้าปิดฝีมีขนาดเกินกว่าขนาดยาว 4 คืบ กว้าง 2 คืบ ด้วยคืบสุคต
   140.ห้ามใช้ผ้าอาบน้ำฝนมีขนาดเกินกว่าขนาด ยาว 6 คืบ กว้าง 2 คืบด้วยคืบสุคต
   141.ห้ามใช้จีวรมีขนาดเท่ากับขนาดยาว 9 คืบ กว้าง 6 คืบ ด้วยคืบสุคต
ปาฎิเทสนียะ 4
   142.ห้ามรับของเคี้ยวของฉันจากมือนางภิกษุณี
   143.ให้ไล่นางภิกษุณีที่มายุ่งให้เขาถวายอาหาร
   144.ห้ามรับอาหารในสกุลที่สงฆ์สมมุติว่าเป็นเสขะ(ตระกูลที่ยากจน)นอกจากป่วยหรือเขานิมนต์แล้ว
   145.ห้ามรับอาหารที่เขาไม่ได้บอกไว้ก่อนเมื่ออยู่ป่า
เสขิยวัตร  75
   146.เราจักนุ่งให้เป็นปริมณฑล(เบื้องล่างปิดเข่าเบื้องบนปิดสะดือไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง)
   147.เราจักห่มให้เป็นปริมณฑล(ให้ชายผ้าเสมอกัน ไม่ห้อยไปข้างหน้าข้างหลัง)
   148.เราจักปกปิดกายด้วยดีไปในบ้าน
   149.เราจักปกปิดกายด้วยดีนั่งในบ้าน
   150.เราจักสำรวมด้วยดีไปในบ้าน (คือไม่คะนองมือคะนองเท้าหรือค้นหาอะไร)
   151.เราจักสำรวมด้วยดีนั่งในบ้าน
   152.เราจักมีตาทอดลงไปในบ้าน(อินทรียสังวร)
   153.เราจักมีตาทอดลง นั่งในบ้าน(เพื่อป้องกันกิเลส)
   154.เราจักไม่เวิกผ้าไปในบ้าน
   155.เราจักไม่เวิกผ้า นั่งในบ้าน
   156.เราจักไม่หัวเราะดัง ไปในบ้าน
   157.เราจักไม่หัวเราะดัง นั่งในบ้าน
   158.เราจักไม่พูดเสียงดัง ไปในบ้าน     159.เราจักไม่พูดเสียงดัง นั่งในบ้าน   160.เราจักไม่เดินโคลงกาย ไปในบ้าน
   161.เราจักไม่นั่งโคลงกายในบ้าน
   162.เราจักไม่ไกวแขน ไปในบ้าน
   163.เราจักไม่ไกวแขน นั่งในบ้าน
   164.เราจักไม่สั่นศรีษะ ไปในบ้าน
   165.เราจักไม่สั่นศีรษะ นั่งในบ้าน
   166.เราจักไม่เอามือค้ำกาย ไปในบ้าน(เดินเท้าเอว)
   167.เราจักไม่เอามือค้ำกาย นั่งในบ้าน
   168.เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ ไปในบ้าน
   169.เราจักไม่เอาผ้าคลุมศีรษะ นั่งในบ้าน
   170.เราจักไม่เดินกระโหย่งเท้า ไปในเท้า
   171.เราจักไม่นั่งรัดเข่า ในบ้าน(กอดเข่า)
   172. เราจักรับบิณฑบาตโดยเคารพ
   173.เราจักดูแลแต่ในบาตร รับบิณฑบาต
   174.เราจักรับบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง(ไม่รับมาก)
   175.เราจักรับบิณฑบาตพอเสมอขอบปากบาตร
   176.เราจักฉันบิณฑบาตโดยเคารพ ไม่รังเกียจ
   177.เราจักดูแต่ในบาตร เวลาฉัน(ถ้าฉันในบาตร)
   178.เราจักฉันบิณฑบาตไปตามลำดับ(ไม่ขุดให้แหว่ง).
   179.เราจักฉันบิณฑบาตพอสมส่วนกับแกง(ไม่ฉันกับมากเกินไป)
   180.เราจักฉันบิณฑบาต ไม่ขยุ้มแต่ยอดลงไป
   181.เราจักไม่เอาข้าวสุกปิดแกงและกับด้วยจะได้มาก
   182.เราไม่เจ็บไข้ จักไม่ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อ ประโยชน์แก่ตนมาฉัน
   183.เราจักไม่มองดูบาตรของผู้อื่นด้วยคิดจะเพ่งโทษ
   184.เราจักไม่ทำคำข้าวให้ใหญ่เกินไป
   185.เราจักทำคำข้าวให้กลมกล่อม
   186.เราจักไม่อ้าปากในเมื่อคำข้าวยังไม่มาถึง(อ้าค้าง)
   187.เราจักไม่เอานิ้วมือทั้งหมดใส่ปากในขณะฉัน
   188.เราจักไม่พูดทั้งที่ปากยังมีคำข้าว
   189.เราจักไม่ฉันโยนคำข้าวเข้าปาก
   190.เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว
   191.เราจักไม่ฉันทำกระพุ้งแก้มให้ตุ่ย
   192.เราจักไม่ฉันพลางสลัดมือพลาง
   193.เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว(ทำข้าวเรี่ยราด)
   194.เราจักไม่ฉันแลบลิ้น
   195.เราจักไม่ฉันดังจับๆ(ไม่สำรวม)
   196.เราจักไม่ฉันดังซูดๆ(ไม่สำรวม)
   197.เราจักไม่ฉันเลียมือ
   198.เราจักไม่ฉันขอดบาตร(เว้นเหลือน้อยต้องขอด)
   199.เราจักไม่ฉันเลียริมฝีปาก
   200.เราจักไม่เอามือเปื้อนจับภาชนะน้ำ
   201.เราจักไม่เอาน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าวเทลงในละแวกบ้าน(ดูสกปรกเป็นที่รังเกียจ)
   202.เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีร่มในมือ
   203.เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่มีไม้พลองในมือ
   204. 
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ศัสตราในมือ
   205. 
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อาวุธในมือ
   206. 
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมเขียงเท้า   207. เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่สวมรองเท้า
   208. 
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่ไปในยาน
   209. 
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่อยู่บนที่นอน
   210. 
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่นั่งรัดเข่า
   211. 
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่พันศรีษะ
   212. 
เราจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ที่คลุมศรีษะ
   213. เรานั่งอยู่บนแผ่นดิน จักไม่แสดงธรรมแก่คนที่ไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะ
   214. เรานั่งบนอาสนะต่ำ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้นั่งบนอาสนะสูง
   215 เรายืนอยู่ จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้นั่งอยู่
   216 เราเดินไปข้างหลัง จักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้เดินไปข้างหน้า
   217. เราเดินไปนอกทางจักไม่แสดงธรรมแก่คนไม่เป็นไข้ผู้ไปในทางฯ
   218.เราไม่เป็นไข้จักไม่ยืนถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ
   219.เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนน้ำลายลงในของเขียว(พืชต้นไม้)
   220.เราไม่เป็นไข้จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือ บ้วนน้ำลายลงในน้ำ
อธิกรณสมถะ 7   
   221.การระงับอธิกรณ์ในที่พร้อมหน้า(บุคคล,วัตถุ,ธรรม)
   222.การระงับอธิกรณ์ด้วยยกให้ว่าพระอรหันต์ เป็นผู้มีสติ)
   223.การระงับอธิกรณ์ด้วยยกประโยชน์ให้ ในขณะเป็นบ้า
   224.การระงับอธิกรณ์ด้วยถือตามคำรับของจำเลย
   225.การระงับอธิกรณ์ด้วยถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ
   226.การระงับอธิกรณ์ด้วยการลงโทษแก่ผู้ผิด
   227.การระงับอธิกรณ์ด้วยให้ประนีประนอมหรือ เลิกแล้วกันไป